แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาพานอุดร สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานวิชาการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการบริหารงานวิชาการ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาพานอุดร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ในการวิจัยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบบันทึกสนทนากลุ่ม โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาสำคัญ และสรุปเนื้อหาเชิงบรรยายเป็นความเรียง
จากการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันในการบริหารวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยในการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน 1) ด้านโครงสร้างและนโยบายของสถานศึกษา 2) ผลผลิตและบริการ 3) บุคลากร 4) ประสิทธิภาพทางการเงิน 5) วัสดุทรัพยากร และ 6) การบริหารจัดการ ปัจจัยภายนอก 1) ด้านสังคมและวัฒนธรรม 2) ด้านเทคโนโลยี 3) ด้านเศรษฐกิจ และ 4) ด้านการเมืองและกฎหมาย แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาพานอุดร ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษา 2) ด้านการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ 3) ด้านการวัดผล ประเมินผลและการดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน 4) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ และ 5) ด้านการประกันคุณภาพ
Article Details
References
กมลชนก สุนทร. (2564). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนชนบท. วารสารการจัดการศึกษา, 13(2), 45-67.
กษมา ชนะวงศ์. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเอกชน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เกตกนก สวยค้าข้าว. (2561). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนราชินีบูรณะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิตติมา ศิริวัฒน์. (2563). การพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโรงเรียนเขตชนบท. วารสาร การศึกษาเพื่อการพัฒนา, 10(2), 45-60.
ชลธิชา พงษ์แก้ว. (2564). การบริหารวิชาการในพื้นที่ชนบท: บทเรียนจากการศึกษาในภาคเหนือ ของประเทศไทย. วารสารการบริหารการศึกษา, 12(3), 80-95.
ชาญณรงค์ อารีรัตน์. (2562). การพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารการศึกษาและพัฒนาสื่อ, 14(3), 45-60.
ชุติภา กันนุฬา, และคณะ. (2566). การพัฒนาองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการที่มีผลต่อการ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์, 9(1), 85–99.
ไพรภ รัตนชูวงศ์. (2561). การบริหารการศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ จันทร์เรือง. (2563). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา: บทเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่ชนบท. วารสารการศึกษาเพื่อการพัฒนา, 14(2), 45-60.
สมชาย วงศ์สุวรรณ. (2562). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในด้านการวัดผลและประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. วารสารการศึกษาท้องถิ่น, 14(2), 55-72.
เสนาะ ติเยาว์. (2551). หลักการบริหาร.พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. (2567). รายงานผลแผนปฏิบัติการสถานศึกษา. เชียงราย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2567). กระบวนการและผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฐาน สมรรถนะ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุพัตรา วงศ์สุวรรณ. (2562). การพัฒนาระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนในสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน. วารสารการวัดและประเมินผลการศึกษา, 12(1), 45-60.
สุวดี อุปปินใจ. (2560). การบริหารงบประมาณ การเงิน และการบริหารทั่วไป. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การพัฒนาระบบการประเมินความต้องการและลำดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ในองค์กร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Allen, L. A. (1985). Management and organization. McGraw-Hill.
Black, J. S., & Porter, L. W. (2020). Management: A global perspective. Pearson.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.