การออกแบบและพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง สำหรับการเพาะเมล็ดสับปะรดสี กรณีศึกษา : ซันไชน์การ์เดนท์ฟาร์ม
คำสำคัญ:
ระบบเพาะเมล็ดพันธุ์, สับปะรดสี, อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับการเพาะเลี้ยงสับปะรดสี ตัวเครื่องประกอบไปด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนอินพุตสำหรับตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้น ส่วนควบคุมสำหรับ
รับ – ส่งข้อมูล ส่วนเอาต์พุตสำหรับการควบคุมความชื้น อุณหภูมิและแสง และส่วนของการเก็บข้อมูลและแสดงผลผ่านแอพพลิเคชันของโทรศัพท์มือถือ ผลการวิจัยพบว่าตัวเครื่องที่พัฒนาขึ้นสามารถควบคุมความชื้น อุณหภูมิ และปริมาณแสงได้ตามขอบเขตที่ตั้งไว้ และเมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์สับปะรดสี พบว่าการเจริญเติบโตของต้นอ่อนสูงกว่าร้อยละ 19 จำนวนต้นอ่อนที่เกิดจากการเพาะเมล็ดมากกว่าร้อยละ 22 และการลดระยะเวลาในการดูแลของเกษตรกรลงร้อยละ 91 เมื่อเทียบกับการเพาะเลี้ยงแบบดั้งเดิม ดังนั้นเครื่องเพาะเมล็ดพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปลูกสับปะรดสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและค่าสะกดต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือเป็นมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด