ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดของปลากาดำในระบบน้ำหมุนเวียนโดยใช้ฟองอากาศขนาดเล็ก

ผู้แต่ง

  • เอกชัย ดวงใจ

คำสำคัญ:

ปลากาดำ, ระบบน้ำกึ่งหมุนเวียน, การเจริญเติบโตและอัตรารอด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลากาดำในระบบน้ำหมุนเวียนโดยใช้เทคโนโลยีฟองอากาศขนาดเล็ก แบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ 2 ซ้ำ ปล่อยปลาที่ความหนาแน่นต่างกัน 4 ระดับ คือ 20 30 40 และ 50 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ในกลุ่มทดลองที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ การทดลองใช้ปลากาดำ
อายุ 5 เดือน น้ำหนักเริ่มต้นประมาณ 5 กรัมต่อตัว ตลอดระยะเวลาการทดลอง ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม 2561 ให้ปลากินอาหารเม็ดสำเร็จรูปโปรตีน 32 เปอร์เซ็นต์ ที่อัตรา 3 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักตัวต่อวัน กระทั่งสิ้นสุดการทดลอง 80 วัน จึงทำการสุ่มปลาทดลองออกแต่ละกลุ่มๆ ละ 30 ตัว บันทึกน้ำหนักและจำนวนปลาที่เหลือ นำค่าที่ได้ไปคำนวณหาค่าอัตราการเจริญเติบโตต่อวันเฉลี่ย(ADG) เปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย(PWG) ค่าอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเฉลี่ย (SGR) และอัตรารอดตายเฉลี่ย รวมทั้งศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าอุณหภูมิของน้ำ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง และค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ผลการศึกษาพบว่า ปลาทดลองกลุ่มที่ 1 (20 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร) ปลามีค่าน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย ค่าอัตราการเจริญเติบโตต่อวันเฉลี่ย ค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย และค่าอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเฉลี่ยสูงสุด (p<0.05) เท่ากับ 75.05±30.36 กรัมต่อตัว 0.75±0.29 กรัมต่อตัวต่อวัน 1364.55±603.20 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน และ 3.12±0.38 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ตามลำดับ ในขณะที่อัตรารอดตายของปลาทดลอง พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละกลุ่มทดลอง เช่นเดียวกับผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทั้ง
3 ค่า พบว่า ไม่มีความแตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบในแต่ละกลุ่มทดลอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/15/2020