การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของปุ๋ยฮิวมัส กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจฮิวมัสล้านอินทรีย์แม่เมาะบ้านนาสัก ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ต้นทุน, ผลตอบแทน, ปุ๋ยฮิวมัสบทคัดย่อ
การศึกษาถึงต้นทุนและผลตอบแทนของปุ๋ยฮิวมัสภายใต้การดำเนินงานรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนมัสล้านปี อินทรีย์แม่เมาะ บ้านนาสัก ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง กรณีศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างที่แน่นอน ทำการสำรวจและการสัมภาษณ์เชิงลึกในสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปุ๋ยฮิวมัสล้านปีอินทรย์แม่เมาะ บ้านนาสัก ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงพรรณนาและปริมาณ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ต้นทุน วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ปริมาณขาย ณ จุดคุ้มทุน อัตราส่วนกำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุน ระยะเวลาคืนทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ และอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง
ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณขาย ณ จุดคุ้มทุนของสินค้า 3 ขนาด ประกอบด้วยปุ๋ยขนาดเล็ก จำนวน 242 กระสอบ ขนาดมาตรฐาน จำนวน 242 กระสอบ และแบบผงหยาบ จำนวน 339 กระสอบ ไม่พบของเสียในกระบวนการผลิต มีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นถัวเฉลี่ย 5 ปีเท่ากับ 52.24% อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนถั่วเฉลี่ย 5 ปีเท่ากับ 113.29% ใช้ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 1 ปี 6 เดือน 15 วัน มูลค่าปัจจุบัน (NPV) โดยกำหนดต้นทุนเงินลงทุน PVIF 7% เท่ากับ 2,436,030.41 บาทและ PVIF 12% เท่ากับ 1,988,003.51 บาท และอัตราผลตอบแทนโครงการลงทุน
(IRR ) เท่ากับ 34.19 % ต่อปี แสดงให้เห็นว่ากิจการมีความสามารถในการทำกำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิได้ดี และมีผลการดำเนินงานของกิจการมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างผลตอบแทนกลับคืนจากเงินลงทุนในระยะเวลาที่สั้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและค่าสะกดต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือเป็นมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด