การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้หลักการซิกซ์ซิกม่า เพื่อรองรับมาตรฐานจีเอ็มพี โคเด็กซ์ กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • นิวัฒน์ชัย ใจคำ

คำสำคัญ:

การปรับปรุงประสิทธิภาพ, ซิกซ์ซิกม่า, จีเอ็มพี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อลดมูลค่าบรรจุภัณฑ์เสื่อมสภาพหรือหมดอายุการใช้งาน เพื่อให้ภาพรวมของกระบวนการบรรจุน้ำผึ้งมีความสอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐาน จีเอ็มพี โคเด็กซ์ และเพื่อลดมูลค่าการสูญเสียโอกาสทางการขาย จากการศึกษากระบวนการผลิตของวิสาหกิจชุมชนฯ พบว่า มีการผลิตน้ำผึ้ง 4 ขนาดคือ น้ำผึ้งขนาด 1,000 กรัม น้ำผึ้งขนาด 980 กรัมน้ำผึ้งขนาด 950 กรัม น้ำผึ้งขนาด 650 กรัม ไม่มีกระบวนการจัดการคลังบรรจุภัณฑ์ที่ดี ทำให้มีบรรจุภัณฑ์เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุการใช้งาน มีมูลค่าการสูญเสียอยู่ที่ 3,860 บาทต่อปี รวมทั้งการบรรจุน้ำผึ้งไม่ได้ตามมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนด ส่งผลให้มีมูลค่าการสูญเสียโอกาสทางการขายเฉลี่ย 1,700 ขวดต่อเดือน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,672,000 บาทต่อปี คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการศึกษางาน
การออกแบบเครื่องจักรกล การเขียนแบบ เครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม การจัดการคลังสินค้า การควบคุมด้วยการมองเห็น และทฤษฎีซิกซ์ซิกม่า ผลการดำเนินงาน พบว่า การบริหารจัดการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์ และการบรรจุน้ำผึ้งลงในบรรจุภัณฑ์มีความสอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐาน จีเอ็มพี โคเด็กซ์ โดยสามารถลดมูลค่าบรรจุภัณฑ์เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุการใช้งานได้ 3,860 บาทต่อปี สามารถบรรจุน้ำผึ้งได้ตามมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนด ส่งผลให้สามารถลดมูลค่าการสูญเสียโอกาสทางการขายได้เฉลี่ย 1,700 ขวดต่อเดือน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,672,000 บาทต่อปี รวมสามารถลดมูลค่าการสูญเสียได้ 3,673,860 บาทต่อปี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/15/2020