การออกแบบและพัฒนาเครื่องบรรจุ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการบรรจุน้ำพริกน้ำเงี้ยว
คำสำคัญ:
น้ำพริกน้ำเงี้ยว, การปรับปรุง, เครื่องบรรจุบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการบรรจุน้ำพริกน้ำเงี้ยว ให้สามารถตอบสนองต่อความ ต้องการของลูกค้า และเพื่อลดมูลค่าการเสียโอกาสในการขายน้ำพริกน้ำเงี้ยว ให้กับสถานประกอบการ
จากการศึกษาข้อมูลของสถานประกอบการร้านน้ำพริกน้ำเงี้ยว พบว่า ทางสถานประกอบการมีการบรรจุน้ำพริกน้ำเงี้ยวทั้งหมด 3 ขนาด คือ ขนาด 100 กรัม 500 กรัม และ 1,000 กรัม สามารถบรรจุน้ำพริกน้ำเงี้ยว ทั้ง 3 ขนาด รวมกันได้
60 กิโลกรัมต่อวัน แต่มีความต้องการของลูกค้าอยู่ที่ 125 กิโลกรัมต่อวัน ทำให้ทางสถานประกอบการเสียโอกาสทางการขายอยู่ที่ 65 กิโลกรัมต่อวัน คิดเป็นมูลค่า 6,500 บาทต่อวัน หรือคิดเป็นมูลค่า 143,000 บาทต่อเดือน คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการลดการสูญเสียโอกาสในการขาย ด้วยการสร้างเครื่องบรรจุน้ำพริกน้ำเงี้ยว ด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการศึกษางาน การออกแบบเครื่องจักรกล การเขียนแบบ สถิติวิศวกรรม และเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ผลการดำเนินงาน พบว่า เครื่องบรรจุน้ำพริกน้ำเงี้ยวสามารถบรรจุน้ำพริกน้ำเงี้ยวทั้ง 3 ขนาด รวมกันได้ 160.4 กิโลกรัมต่อวัน ดังนั้นเครื่องบรรจุน้ำพริกน้ำเงี้ยวสามารถลดการเสียโอกาสการขายได้ 6,500 บาทต่อวัน หรือคิดเป็นมูลค่า 143,000 บาทต่อเดือน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและค่าสะกดต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือเป็นมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด