ตู้ควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยแสงเทียมและเทคโนโลยีนาโนบับเบิ้ล
คำสำคัญ:
ผักไฮโดรโปนิกส์, แสงเทียม, นาโนบับเบิ้ลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างตู้ควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยแสงเทียมและเทคโนโลยี
นาโนบับเบิ้ลเพื่อนำไปใช้สำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในอาคาร โดยใช้หลอดแสงเทียมสำหรับปลูกผักที่มีค่าความเข้มแสงที่เหมาะสมต่อการปลูกผักสลัด คือ 1100 ถึง 2000 ลักซ์ มีระบบควบคุมสภาพอากาศภายในตู้อย่างเหมาะสมและใช้เครื่องสร้างนาโนบับเบิ้ลให้กับสารละลายธาตุอาหารพืชเพื่อช่วยเติมอากาศให้แก่ธาตุอาหารส่งผลดีต่อการลำเลียงสารอาหารจากรากทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี จากผลการทดลองปลูกผักสลัดเรดโอ๊ค 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบกึ่งน้ำลึก (Dynamic Root Floating Technique: DRFT) และรูปแบบน้ำนิ่ง พบว่า ค่าเฉลี่ย EC ในระบบกึ่งน้ำลึกมีค่าสูงกว่าระบบน้ำนิ่ง 0.14 mS/cm ค่าเฉลี่ย pH ในระบบกึ่งน้ำลึกมีค่าต่ำกว่าระบบน้ำนิ่ง 0.3 และค่าเฉลี่ย DO ในระบบกึ่งน้ำลึกมีค่าต่ำกว่าระบบน้ำนิ่ง 0.61 mg/l และเมื่อพิจารณาค่าการเจริญเติบโตของผักสลัด พบว่า ความสูงเฉลี่ยของผักสลัดที่ปลูกในระบบน้ำนิ่งสูงกว่าระบบกึ่งน้ำลึก 0.6 เซนติเมตร ความกว้างพุ่มเฉลี่ยของผักสลัดที่ปลูกในระบบน้ำนิ่งมีขนาดพุ่มกว้างกว่าระบบกึ่งน้ำลึก 1.5 เซนติเมตร และความยาวรากของผักสลัดที่ปลูกในระบบน้ำนิ่งมีความยาวรากยาวกว่าระบบกึ่งน้ำลึก
0.5 เซนติเมตร โดยค่าการเจริญเติบโตของผักสลัดเรดโอ๊คระยะปลูกเวลา 11 วัน ในระบบน้ำนิ่งมีการเจริญเติบโตดีกว่าระบบกึ่งน้ำลึก14.6% ซึ่งมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยและทั้งสองระบบยังคงรักษาคุณภาพของสารละลายธาตุอาหารพืชที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่างานวิจัยที่นำเสนอสามารถนำมาใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระบบไฮโดรโปนิกส์แบบกึ่งน้ำลึกและระบบไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและค่าสะกดต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือเป็นมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด