การใช้เทคโนโลยี QR-Code เพื่อการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ้าทอลายโบราณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอมือโบราณพาดีผ้าทอ ตำบลบ่อสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ หงษ์สิบสอง

คำสำคัญ:

คิวอาร์โค้ด, สมาร์ทโฟน, นวัตกรรมผ้าทอ, ประชาสัมพันธ์ผ้าทอ

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อศึกษาสภาพ และความหลากหลายของผ้าทอมือลายโบราณ 
2.) เพื่อออกแบบและประเมินเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด3.) เพื่อศึกษาผลการใช้และความพึงพอใจของผู้ใช้เทคโนโลยี
คิวอาร์โค้ด 4.) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ผ้าทอมือลายโบราณในรูปแบบหนังสือเล่มเล็ก โดยพัฒนาระบบเป็นเว็บแอปพลเคชั่น ใช้ภาษา PHP เป็นหลักในการพัฒนา และ MySQL เป็นระบบจัดการฐานข้อมูล ผลการศึกษาสภาพความหลากหลายของกลุ่มผ้าทอมือลายโบราณ พบว่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอลายคำเคิบของกลุ่มฯ ได้ผ่านการคัดสรรให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP 5 ดาวในระดับภาคและปัจจุบันผ้าทอมือลายโบราณที่สามารถสร้างชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ได้แก่ ผ้าลายคำเคิบ, ผ้าลายเชียงแสน, ผ้าลายน้ำไหล, ผ้าลายม่าน, ผ้าลายปล้อง และผ้าลายตีนจก เป็นต้น ผลการออกแบบและประเมินระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และประเมินความพึงพอใจโดยผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 50 คน พบว่าการประเมินคุณภาพระบบโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.05 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 ซึ่งแสดงว่าระบบมีคุณภาพการใช้งานอยู่ในระดับดี และการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.33 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61
ซึ่งแสดงว่าผู้ใช้งานทั่วไปมีความพึงพอใจต่อระบบอยู่ในระดับดีมาก สามารถสรุปได้ว่าระบบมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างการประชาสัมพันธ์เผยแพร่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอมือโบราณพาดีผ้าทอได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/30/2020