เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำในมหาวิทยาลัย
คำสำคัญ:
เรือไฟฟ้า, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานทดแทน, ท่องเที่ยวทางน้ำ, ความยั่งยืนบทคัดย่อ
เรือไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้พัฒนาขึ้นโดยการประยุกต์ใช้พลังงานทดแทนมาใช้ในการขับเคลื่อนเรือป๊าบขนาด กว้าง 1.10 เมตร ยาว 4.50 เมตร และน้ำหนักรวมประมาณ 300 กิโลกรัม ใช้ไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ (PV) ขนาดกำลังไฟฟ้า 100 วัตต์ เลือกใช้แบตเตอรี่ลิเธี่ยมฟอสเฟส (iFePO4) ความจุของกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 100 แอมป์ และแรงดันไฟฟ้า 25.9 โวลต์ จ่ายกระแสไฟฟ้าไปใช้ในการขับเคลื่อนมอเตอร์ไกด์ (Trolling motor) ที่มีกำลัง 414 วัตต์ (40 ปอนด์) ทดสอบบรรทุกผู้โดยสารจำนวน 3 คน (น้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 81.67 กิโลกรัม/คน) อัตราเร่งที่ 25% 50% 75% และ 100% ตามลำดับ พบว่าเรือสามารถแล่นด้วยความเร็วเฉลี่ยที่ 2 กิโลเมตร/ชั่วโมง, 4 กิโลเมตร/ชั่วโมง, 6 กิโลเมตร/ชั่วโมง, และ 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ และแบตเตอรี่สามารถแล่นเรือได้ติดต่อกันเป็นเวลา 4.5-8 ชั่วโมง/รอบ
References
Asari, A.R., Rosham, R., & Ahmmad, S.Z., (2019). Solar powered boat, Test Engineering and Management, 81, 5994-6001.
Nasirudina A., Chao R.M., Utamab I.K.A.P., (2017), Solar Powered Boat Design Optimization, 10th International Conference on Marine Technology, MARTEC 2016, Procedia Engineering 194, 260 – 267.
Spagnolo, G.S., Papalillo, D., Martocchia, A., & Makary, G., (2012). Solar-Electric Boat, Journal of Transportation Technologies, 2, 144-149.
Sunaryo S., & Ramadhani A.W., (2018). Electrical system design of solar powered electrical recreational boat for Indonesian waters, E3S Web of Conferences 67, 04011.
Yongphet, P., Kwamkhunkoei, J., Pakvilai, N., Nakpibal, P., Yuduang, N., & Phunphon, T., (2021) Foresight for sustainable management of a model community in renewable energy through participatory work processes between the university and the community. The 7th International (Virtual) Workshop on UI GreenMetric World University Rankings (IWGM 2021). 24-26 August 2021.
ปิยนุช ใจแก้ว และสุธิดา ทีปรักษพันธุ์ (2562), การพัฒนาเรือพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำ, วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14 (2), หน้า 91-97.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564) คู่มือการพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านกระบวนการการมองภาพอนาคตชุมชนอย่างยั่งยืน. [พิมพ์ครั้งที่ 1]. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอส. กรุ๊ป (1954) จำกัด (สำนักงานใหญ่).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและค่าสะกดต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือเป็นมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด