การพัฒนาสูตรอาหารว่างที่มีส่วนประกอบเชิงหน้าที่จากข้าวก่ำดอยสะเก็ด

ผู้แต่ง

  • เพ็ญวรัตน์ พันธ์ภัทรชัย
  • จรรยวรรธน์ ตัณฑ์เจริญรัตน์ วุฒิจำนงค์ College of Integrated Science and Technology
  • มณีรัตน์ เมืองใจ

คำสำคัญ:

ข้าวตัง, ข้าวก่ำดอยสะเก็ด, ความกรอบ, สารฟีนอลลิก, การต้านอนุมูลอิสระ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะมีคุณค่าทางอาหารและสารพฤกษเคมีต่างกัน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพด้านความกรอบและสมบัติทางเคมีด้านปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดและสารต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์ข้าวตังแผ่นทอดกรอบ ที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบ 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว กข 43 แป้งข้าวเจ้าและข้าวก่ำดอยสะเก็ด ทั้งหมด 3 สูตร ที่มีอัตราส่วนของวัตถุดิบแตกต่างกัน ได้แก่ สูตร 1 (1:1:8) สูตร 2 (5:1:4) และสูตรที่ 3 (9:1:0) นำส่วนผสมทั้งหมดมานึ่ง บดผสมตามสูตร และขึ้นรูปเป็นแผ่นวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 เซนติเมตร นำไปตากแดดให้แห้งเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วทอดในน้ำมันปาล์ม อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ข้าวตังแผ่นทอดกรอบทดสอบสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมี จากการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์ข้าวตังแผ่นทอดกรอบในทุกสูตรจะมีค่าแรงกดที่ก่อให้เกิดการแตกหัก (fracturability) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p<0.05) โดยผลิตภัณฑ์ข้าวตังแผ่นทอดกรอบจะมีค่าความกรอบอยู่ในช่วงระหว่าง 6.26- 4.58  นิวตัน ผลการทดสอบสมบัติทางเคมี พบว่า สูตรที่ 1, 2 และ 3 มีปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด เท่ากับ 29.7, 20.1 และ 8.2 mgGAE/100gDW ตามลำดับ มีค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วย วิธี FRAP เท่ากับ 98.6, 89.9 และ 29.6 mgGAE/100gDW ตามลำดับ

 

References

ชมนาถ แปลงมาลย์ และ นุชนาถ มีนาสันติรักษ์. (2021). พัฒนาตำรับอาหารและวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของอาหารท้องถิ่น เพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาสู่ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ปีที่ 5, ฉบับที่ 4

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.(2010). ข้าวตัง. สืบค้น 28 กันยายน 2565, จากhttps://shorturl.asia/yCJM3

พีรนันท์ มาปัน และ คณะ. (2014). การคัดเลือกในชั่วต้นเพื่อลักษณะแอนโทไซยานินในเมล็ดและไม่ไวต่อแสงในลูกผสมชั่วที่ 2 ระหว่างข้าวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดและปทุมธานี. วารสารนเรศวรพะเยา, 7(2), 160-171.

ศูนย์ข้อมูลข้าวตลาดเฉพาะ. (2022). ข้าว กข43. สืบค้น 28 กันยายน 2565, จากhttps://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=27.

ศาริณี รอดประชา. (2017). การผลิตข้าวเกรียบว่าวจากข้าวเหนียวดำ.ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหาร) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, วท.ม. (อุตสาหกรรมเกษตร): 66.

ศิริพร คำชุ่ม. (2559). การพัฒนาเครื่องดื่มข้าวหมากจากข้าวมีสีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.

Escribano-Bailon, M.T. and Santos-Buelga, C. (2003). Polyphenol Extraction from Foods. In: Santos-Buelga, C., Ed., Methods in Polyphenol Analysis. Royal Society of Chemistry, London, 1-12.

Food wiki. (2023). Functional foodสืบ. ค้น24 มกราคม 2565, จาก https://shorturl.asia/rM46a

Lazze, M.C., Savio, M., Pizzala, R., Cazzalini, O., Perucca, P., Scovassi, A.I., Stivala, L.A.,Bianchi,L. (2004) . Anthocyanins induce cell cycle perturbations and apoptosis in different human celllines. Carcinogenesis, 25: 1427-1433.

Lu, X., Ross, C. F., Powers, J. R., Aston, D. E., and Rasco, B. A. (2011). Determination of total phenolic content and antioxidant activity of garlic (Allium sativum) and elephant garlic (Allium ampeloprasum) by attenuated total reflectance-Fourier transformed infrared spectroscopy. Journal of Agricutural and Food Chemistry, 59(10), 5215-21.

Nuttawut, L. Janpen, S. Siriporn, T. Wasan, P. (2020). Aran P. Development of High Anthocyanin Crispy Rice Bar. Suan Sunandha Science and Technology Journal, 7(1), 34-42.

Şengül, M., Yildiz, H., and Kavaz A. (2011) The Effect of Cooking on Total Polyphenolic Content and Antioxidant Activity of Selected Vegetables. International Journal of Food Properties, 17(3), 481–490.

Wang R. (1999). Quantitative structure-activity relationship analysis of phenolic antioxidants. Shandong Medical University, Jinan, Shandong 250012, P. R. China, 26, 285-294.

Thongkaew, C. and Singthong, J. (2020). Effect of partial substitution of Riceberry rice flour on rice noodles quality. Food Research 4 (Suppl. 4), 9 – 16.

Tian, S., K. Nakamura and H. Kayahara. (2004). Analysis of phenolic compounds in white rice, brown rice and germinated brown rice. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 52(15),4808-4813.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/25/2023