การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเชื่อมเหล็กที่ใช้ผลิตแม่พิมพ์ เกรด SKD 11 ด้วยกระบวนการเชื่อมอาร์กแบบทิก (GTAW)

ผู้แต่ง

  • sarawut chaowakarnkool -

คำสำคัญ:

เหล็กที่ใช้ทำแม่พิมพ์, กระบวนการเชื่อมทิก, การอุ่นชิ้นงานก่อน และหลังเชื่อม, บริเวณกระทบร้อน, ความเค้นตกค้าง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเชื่อมเหล็กที่ใช้ผลิตแม่พิมพ์ เกรด SKD 11 ด้วยกระบวนการเชื่อมอาร์กแบบทิก (GTAW)   โดยการศึกษาเริ่มจากการกำหนดเงื่อนไขในการทดลอง ได้แก่ กระแสเชื่อม จำนวนชั้นของรอยเชื่อม อัตราการป้อนเติมลวด (Deposited Rate) อุณหภูมิการให้ความร้อนก่อนและหลังเชื่อม จากนั้นนำชิ้นงานเชื่อมไปทดสอบคุณสมบัติทางกล จากการทดลองพบว่าการเชื่อมแบบซ้อนรอย 3 ชั้นเต็มรอยบาก ใช้ความร้อนเข้าน้อย ส่งผลให้บริเวณกระทบร้อนแคบกว่าการเชื่อมแบบชั้นเดียว และการเชื่อมด้วยกระแสเชื่อม 105 แอมป์ ทำให้ลวดเติมและโลหะงานหลอมละลายเข้ากันได้ดี ไม่พบรอยแยกระหว่างชั้น (Lack of Inter-Run Fusion) แต่พบว่าผิวหน้าของรอยเชื่อมยุบเว้า และยังพบว่ามีรอยแตกร้าว 25 เปอร์เซ็นต์ของความยาวรอยเชื่อม ซึ่งการเพิ่มอัตราการป้อนเติมจากการเติมลวดครั้งละ 1 เส้น เป็นครั้งละ 2 เส้น จากการวัดด้วยเกจวัดพบว่าผิวหน้ารอยเชื่อมนูนเพิ่มขึ้น และจากตรวสอบด้วยน้ำยาแทรกซึมไม่พบรอยแตกร้าวที่ผิวหน้ารอยเชื่อม[1] การให้ความร้อนก่อนเชื่อมที่อุณภูมิ 300 องศาเซลเซียส ได้จากการคำนวนจากปริมาณคาร์บอนเทีนบเท่า (CE) และการให้ความร้อนหลังเชื่อมเสร็จที่ 300 องศาเซ็นเซียสเท่ากัน ทำให้ไม่พบรอยแตกร้าวหลังเชื่อมเสร็จ และมีค่าความแข็งสูงเท่ากับ 50 HRC ค่าความสามารถรับแรงกระแทกเท่ากับ 2.5 จูล (J) และหากเพิ่มอุณหภูมิการให้ความร้อนหลังเชื่อมเสร็จ 700-900 องศาเซ็นเซียส พบว่ารับแรงกระแทกได้มากขึ้น แต่ค่าความแข็งจะลดลงซึ่งไม่เหมาะกับการนำไปใช้ทำแม่พิมพ์ สรุปว่าเหล็ก SKD 11 มีความสามารถในการเชื่อมต่ำ จึงควรให้ความสำคัญกับการกำหนดตัวแปรที่สำคัญในการเชื่อม เพื่อไม่ให้เกิดความเค้นตกค้าง จนทำให้เกิดการแตกร้าวหลังการเชื่อมเสร็จ

References

Kou,S. (2003). Improving Weld Geometry.Welding metallurgy.(pp.

-295) New Jersey USA : John Wiley & Sons, Inc.

เฉลิมพล คล้ายนิล, & ณัฐศักดิ์ พรพุฒิศิริ. (2558) การศึกษาชนิดของ

เหล็กกล้าเครื่องมือที่มีผลต่อพฤติกรรมการสึก หลอของแม่พิมพ์สำหรับการปั้ม

เหล็กกล้าความแข็งแรงสูง. CMUL: Journal Articles.

http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64792.

STEVE THOMPSON. (1999). Handbook of mold, tool and die repair

welding. United States of America: William Andrew Publishing.

Lin, Y. C., Chen, H. M., & Chen, Y. C. (2014). A Comparative Study

of the Tribological Behavior of Tin Powder Clad on the JIS SKD11

Tool Steel with the GTAW Method. Advanced Materials

Research, 966, 365-376.

https://doi.org/10.4028/www.scientific.net/AMR.966-967.365.

ดำรงค์ มิตรเหียนขุนทด. อิทธิพลของวัฏจักรความร้อนที่มีผลต่อโลหะเชื่อมมิก

เหล็กกล้าเครื่องมือเกรด SKD11 (Doctoral dissertation, มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. สาขาวิชาวิศวกรรมการ

ผลิต).

http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2400.

Meng, Y., Zhang, J. Y., Zhan, H., Chen, Q., Zhou, J., Sugiyama, S.,

& Yanagimoto, J. (2019). Effects of subsequent treatments on the

microstructure and mechanical properties of SKD11 tool steel

samples processed by multi-stage thixoforging. Materials

Science and Engineering: A, 762, 138070.

https://doi.org/10.1016/j.msea.2019.138070.

Chuaiphan, W., & Srijaroenpramong, L. (2014). Effect of welding

speed on microstructures, mechanical properties and corrosion

behavior of GTA-welded AISI 201 stainless steel sheets. Journal

of Materials Processing Technology, 214(2), 402-408.

https://doi.org/10.1016/j.jmatprotec.2013.09.025.

Olabi, A. G., & Hashmi, M. S. J. (1995). The effect of post-weld

heat-treatment on mechanical-properties and residual-stresses

mapping in welded structural steel. Journal of materials

processing technology, 55(2), 117-122.

https://doi.org/10.1016/0924-0136(95)01794-1.

Kim, H., Kang, J. Y., Son, D., Lee, D. S., Lee, T. H., Jeong, W. C., &

Cho, K. M. (2014). Microstructures and mechanical properties of

cold-work tool steels: a comparison of 8% Cr steel with STD11.

Journal of the Korean Society for Heat Treatment, 27(5), 242-

https://doi.org/10.12656/jksht.2014.27.5.242.

Mandolfino, C., Lertora, E., Davini, L., & Gambaro, C. (2014).

Investigation on gas metal arc weldability of a high strength

tool steel. Materials & Design (1980-2015), 56, 345-352.

https://doi.org/10.1016/j.matdes.2013.11.042.

Fukaura, K., Sunada, H., Yokoyama, Y., Teramoto, K., Yokoi, D., &

Tsujii, N. (1998). Improvement of strength and toughness of

SKD11 type cold work tool steel. Tetsu-to-Hagané, 84(3), 230-

https://doi.org/10.2355/tetsutohagane1955.84.3_230.

คณิต สิทธิพันธ์. อิทธิพลของการเชื่อมอาร์กลวดหุ้มฟลักซ์พอกแข็งซ้ำแนวต่อ

สมบัติของเหล็กกล้าเครื่องมือ JIS-SKD11 (Doctoral dissertation,

มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ราช มงคล ธัญบุรี. คณะ วิศวกรรมศาสตร์. สาขา

วิชา วิศวกรรม การ ผลิต.).

http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2588.

สมหมาย สารมาท. (2550). การวิเคราะห์ปัจจัยเพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติในการเชื่อม

แบบทังสเตนอาร์คเพื่อลดการแตกร้าวสำหรับ เหล็กกล้าเครื่องมืองานเย็นเอ

สเคดี 11. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัญฑิต). เชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/26911

Kutelu, B. J., Seidu, S. O., Eghabor, G. I., & Ibitoye, A. I. (2018).

Review of GTAW welding parameters. Journal of Minerals and

Materials Characterization and Engineering, 6(05), 541.

http://creativecommons.org/licenses/by/4.0/.

Dubey, Y., Sharma, P., & Singh, M. P. (2023). Experimental

investigation for GTAW optimization using genetic algorithm on

S-1 tool steel. Materials Today: Proceedings.

https://doi.org/10.1016/j.matpr.2023.02.174.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/27/2024