เครื่องคั่วธัญพืช
คำสำคัญ:
เครื่องคั่ว, เครื่องคั่วแบบถังหมุน, ตู้อบแบบถังหมุนบทคัดย่อ
โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อ ออกแบบ สร้าง และทดสอบสมรรถนะของเครื่องคั่วธัญพืช โดยเครื่องจักรประกอบไปด้วย ถังคั่วสแตนเลสทรงกระบอกมีฝาปิดที่มีรูระบายความชื้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 นิ้ว ลึก 24 นิ้ว ส่วนก้นของถังเป็นรูปโค้งมน ที่ผนังถังด้านในมีใบพัดกวนจำนวน 4 ใบ ที่ก้นถังคั่วติดตั้งมอเตอร์เกียร์กระแสสลับขนาด 1/4 แรงม้า ทำหน้าที่ขับหมุนถังคั่วที่ความเร็ว 8 รอบต่อนาที มีเตาแก๊สอินฟราเรดให้ความร้อนกับถังคั่วบริเวณก้นถังส่วนโค้งมน ทั้งหมดถูกติดตั้งอยู่กับโครงเหล็กโดยปากถังคั่วทำมุม 30o จากแนวราบ โดยโครงเหล็กนี้ถูกถ่วงสมดุลบนฐานรองรับทำให้สามารถเทถังคั่วได้สะดวกและเบาแรง เครื่องจักรทำงานแบบอัตโนมัติโดยการควบคุมด้วยระบบไฟฟ้า ตัวเครื่องจักรมีขนาดกว้าง 0.69 เมตร ยาว 1.20 เมตร และสูง 1.20 เมตร จากการทดสอบการทำงานพบว่า การคั่วข้าวมอลต์ในปริมาณ 5 กิโลกรัม/ครั้งเหมาะสมที่สุด ที่สภาวะนี้มีอัตราการคั่ว 8.57 กิโลกรัม/ชั่วโมง อัตราการสิ้นเปลืองแก๊ส (LPG) 0.27 กิโลกรัม/ชั่วโมง และใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 224 วัตต์ เมื่อให้เครื่องจักรทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จะมีระยะเวลาการคืนทุน 0.92 ปี
References
S. Chairangsinan, 2015. “History of the Nan Malt Community Enterprise Group,” presented by Group President at the Nan Malt Community Enterprise Group, Wiang Sa District, Nan, Feb 3-4 (in Thai).
M. Chairangsinan, 2015. “Production process, sales and financial affairs of the Nan Malt Community Enterprise Group,” presented by Managing Director at the Nan Malt Community Enterprise Group, Wiang Sa District, Nan, Feb 3-4 (in Thai).
W. Tia, 1997. “Energy analysis of economics and saving study of energy conservation in the industry,” presented at the Faculty of Energy and Inventories, King Mongkut’s University of Technology Thonburi, Bangkok, Mar 2-5 (in Thai).
B. Sornnin and S. Wattanasriyakul, 2006. Manual Table of the Metal Work, 1st ed., Bangkok, Textbook Production Center, King Mongkut's Institute of Technology North Bangkok (in Thai).
W. Ungphakorn and C. Thnad-Ngan, 1984. Mechanical Design 1, 3rd ed., Bangkok, SE-EDUCATION, pp. 29-36 (in Thai).
W. Ungphakorn and C. Thnad-Ngan, 1983. Mechanical Design 2, 1st ed., Bangkok, SE-EDUCATION, pp. 45-51 (in Thai).
C. kasipar, 1985. Strength of Material, 9th ed, Bangkok, Chwn Phimph, pp. 31-38 (in Thai).
S. Rungwattanapong, 2005. Solid Mechanics, 10th ed, Bangkok, SE-EDUCATION, pp. 54-62 (in Thai).
HOPKINS, R. B., 1961. Calculating Deflections in Stepped Shafts and Nonuniform Beams, Machine Design, John Wiley&Sons, Inc., New York, pp. 108-123.
Smith, C. E., 1982. Applied Mechanics: Dynamics, 2nd ed., John Wiley&Sons, Inc., New York, pp. 86-97.
Rashid, M. H., 1993. Power electronics; circuit, device, and application, 2nd ed., Inc., Prentice-Hall, New Jersey, pp. 91-107.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและค่าสะกดต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือเป็นมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด