การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ (ข้าว GI) จังหวัดสระบุรี เพื่อมูลค่าเพิ่มในเชิงพาณิชย์ของเศรษฐกิจชุมชน

ผู้แต่ง

  • mattanee parmotmuang Rajamangala University of Technology Phra Nakhon

คำสำคัญ:

พัฒนา, มูลค่าเพิ่ม, บรรจุภัณฑ์, เศรษฐกิจชุมชน

บทคัดย่อ

“ข้าวเจ็กเชยเสาไห้ จังหวัดสระบุรี” เป็นการทำเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น แสดงถึงอัต

ลักษณ์หวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ข้าวเจ็กเชยและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเจ็กเชยเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าในเชิงพาณิชย์ของเศรษฐกิจชุมชน 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบใหม่ของบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ จังหวัดสระบุรี มีระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการลงพื้นที่ศึกษาและเก็บข้อมูลงานวิจัย สัมภาษณ์ สนทนากลุ่มย่อย นำผลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล สู่กระบวนการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ การสร้าง ผลิตต้นแบบและการประเมินความพึงพอใจของบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและโดยบังเอิญของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 70 คน ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่จากกลุ่มตัวอย่าง ค่าเฉลี่ย 4.17 ความพึงพอใจระดับมาก แยกแต่ละด้าน ดังนี้ 1) ด้านโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ค่าเฉลี่ย 4.14 มีความพึงพอใจระดับมาก พบว่า รูปแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์สามารถช่วยปกป้องคุ้มครองของผลิตภัณฑ์ภายในได้ดี เหมาะสมกับปริมาณการบรรจุตัวสินค้าที่อยู่ด้านใน 2) ด้านกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ค่าเฉลี่ย 4.20 มีความพึงพอใจระดับมาก ที่แสดงรายละเอียด จุดเด่นของข้าวเจ็กเชยเสาไห้และอัตลักษณ์ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวและชุมชน บรรจุภัณฑ์มีสีสันสดใส ดูร่วมสมัย ซึ่งผลงานวิจัยนี้ มีการต่อยอดและนำไปผลิตต้นแบบการใช้งาน จำหน่ายได้จริง ทำให้ชุมชนพื้นที่ เกิดความภูมิใจในการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าในเชิงพาณิชย์ของเศรษฐกิจชุมชนได้

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2551). ประกาศโฆษณาการรับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทาง

ภูมิศาสตร์. ปีที่ 4 เล่มที่ 1. กระทรวงพาณิชย์ : กรุงเทพมหานคร.

ณธกร อุไรรัตน์. (2559). การศึกษาเพื่อพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวเจ๊กเชย

เสาไห้ จังหวัดสระบุรี. มหาวิทยาลัยธุรกิบัณฑิต.

ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท. (2537). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 5) มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์ : กรุงเทพมหานคร.

นิรัช สุดสังข์. (2548). การวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. โอเดียนสโตร์ :

กรุงเทพมหานคร.

ปุ่น คงเจริญเกียรติ และ สมพร คงเจริญเกียรติ. (2541). บรรจุภัณฑ์อาหาร. แพค

เมทส์ : กรุงเทพมหานคร.

ประชิต ทินบุตร. (2530). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. โอเดียนสโตร์ : กรุงเทพมหานคร.

มัทธนี ปราโมทย์เมือง และ รุจิวรรณ อันสงคราม. (2565). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน : กลุ่มข้าวเจ็กเชยเสาไห้ (ข้าว GI) จังหวัดสระบุรี. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

มัทธนี ปราโมทย์เมือง, ชานนท์ ตันประวัติ และ กรณ์พงษ์ ทองศรี. (2562). การ

สร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเพณี

“กำฟ้า” สืบสานวัฒนธรรมไทยพวน จังหวัดลพบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. 11(2) : 83-97.

วรพงศ์ วรชาติอุดมพงศ์. (2545). การออกแบบกราฟิก. ศิลปาบรรณาคาร :

กรุงเทพมหานคร.

ศิริพรณ์ ปีเตอร์. (2550). เทคนิคการออกแบบตราสินค้าและจดทะเบียนเครื่องหมาย

การค้า. เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ.

องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น 2561-2565

เพิ่มเติมการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ฉบับที่ 7. สืบค้น 1 มีนาคม 2565, จาก

http://www.moungngam.go.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/28/2024