นวัตกรรมพลังงานทดแทนสู่ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในชุมชนพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ ภูสมมา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 0009-0006-8269-8968
  • กิตติ กอบัวแก้ว Dhonburi Rajabhat University https://orcid.org/0009-0002-2327-017X

คำสำคัญ:

นวัตกรรมทดแทน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การเลี้ยงกุ้ง, พลังงานแสงอาทิตย์, เครื่องกลเติมอากาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาการใช้พลังงานทดแทนสำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานทดแทนสำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง 3) เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนสำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง โดยการสร้างนวัตกรรมพลังงานทดแทนด้วยแสงอาทิตย์สำหรับเครื่องกลเติมอากาศแบบผสมผสานเพื่อเติมออกซิเจนในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของชุมชนพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และเพื่อเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือนที่ทำอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งในชุมชนระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่สร้างขึ้นสำหรับทดแทนพลังงานไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์พารามิเตอร์ต่าง ๆ ดังนี้ กำลังไฟฟ้า (Power, P) แรงดันไฟฟ้า (Voltage, V) กระแสไฟฟ้า (Current, I) พลังงานไฟฟ้า (Energy, E) ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power factor, pf) นำมาวิเคราะห์ข้อมูลอัตราการการใช้พลังงานทั้งก่อนและหลังติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ผลการทดลองพบว่า ระบบกังหันตีน้ำสามารถทำงานได้ดี ระบบสามารถสั่งงานและควบคุมมอเตอร์ผ่านสัญญาณไร้สายได้เมื่อทำการต่อไวไฟ การเพิ่มออกซิเจนในน้ำพบว่าสามารถเพิ่มค่าได้จาก 4.83 เป็น 7.13 mg/L หรือคิดเป็น 32.26 % จากระยะรัศมีเฉลี่ยห่างจากตัวเครื่อง 5 เมตร สามารถปรับความเป็นกรดด่าง (PH) ของน้ำจาก 6.33 เป็น 7.1 หรือคิดเป็น 67.74 % ซึ่งเป็นค่าใกล้ความเป็นกลางไม่อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตได้ การเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนสำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในชุมชนจากการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่มีกำลังไฟฟ้า ทำให้ครัวเรือนหลังนี้มีรายจ่ายลดลงเดือนละ 999 บาท และถ้าเฉลี่ยรายปีจะมีรายจ่ายลดลงจากการใช้พลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 11,988 บาท

Author Biographies

ประสิทธิ์ ภูสมมา, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ประสิทธิ์ ภูสมมา เกิดเมื่อ 11 มิถุนายน 2514 ที่จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงงานวัสดุและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปัจจุบันทำงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

กิตติ กอบัวแก้ว, Dhonburi Rajabhat University

Faculty of Science and Technology
Dhonburi Rajabhat University
Bangkok, Thailand, 10600

References

Phoosomma, Prasit. (2018). Construction and Efficiency Test of Solar Drying Cabinet for Nipa Palm Drying for Community Enterprise, 18th International Conference on Control, Automation and Systems (ICCAS), Pyeong Chang, KoreaSouth: 1414-1417. https://ieeexplore.ieee.org/stamp/stamp.jsp?tp=&arnumber=8571912&isnumber=8571397

Korbuakaew, kitti and Phoosomma, Prasit. (2022). Prototype a Food Processing Combination Heated Drying Cabinet, 37th International Technical Conference on Circuits/Systems, Computers and Communications (ITC-CSCC), Phuket, Thailand, :1-4.

https://doi: 10.1109/ITC-CSCC55581.2022.9894865.

Akashi, H., Polasek, F., and Stule, P. (1996). "Pulsating heat pipe", Proceeding of the 5th International Heat Pipe Symposium, Austalia: s.n., 208-217.

Catherine Lane. (2022). SolarReviews. [Online], Available: http://www.solarreviews.com/blog/pros-and-cons-of-monocrystalline-vs polycrystalline-solar-panels#types-of-solar-panels

Chapman, Steplen J. (1999). Electric Machines Fundamentals. 2nd ed. Singapore : McGraw-Hill International.

Cook, Nigel P. (2004). Electronics. (2nd ed). Upper Sandle River, NJ: Pearson Education.

Duffie, A. and Beckman, A. (2013). Solar Engineering of Thermal Processes. (4thed).Hoboken, NJ: John Wiley & Sons, Inc.

Dunn, P.D. and Reay, D.A. (1982). Heat pipes. (3thrd). U.K : Pergamon press.

Fitzgerals., A.E, Kingsley, Charles Jr. & Umans, Stephen D. (2003). Electric Machinary. New York : McGraw-Hill International.

Floyd, Thomas. (1998). Electric Circuit Fundamentals. (4th ed). Upper Sandle River, NJ: Prentice-Hall.

Gulu, Bhag S. & Hiziroglu, Huseyin R. (2001). Electric Machines and Transformer. 3rd ed. New York: Oxford University Press, Inc.

Jason Svarc. (2022). MPPT Solar Charge Controllers Explained. [Online], Available : https://www.cleanenergyreviews.info/blog/mppt-solar-charge-controllers.

Sen, P.C. (1997). Principles of Electric Machines and Power Electronics. 2nded. New York: John Wiley & Sons.

Solar Quatation. (2013). Types of solar panels for homes. [Online], Available:http://www.solarquotation.com.au/blog/types-of-solar-panels-for-homes/

Soponronnarit, S., Nattawut, D., Hirunlabh, J., Namprakai, P.,and Thepa, S. (1992). Computer Simulation of Solar Energy Assisted Fruit Drying. RERIC International Energy Journal, Vol. 14, pp. 59-70.

Pete Millett. (2021). Brushless DC Motors. [Online], Available: https://www.monolithicpower.com/en/brushless-vs-brushed-dc-motors.

ชัยวัฒน์ พรหมเพชร และนพนันท์ นานคงแนบ. (2552). การพัฒนาเครื่องกลเติมอากาศปล่องลมแดดเพื่อบำบัดน้ำเสีย. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, มกราคม - มิถุนายน 2552, ปีที่ 18 ฉบับที่ 1, หน้า 22–31.

ชัยยงค์ เสริมผล จิระเตช สังคะโห และพลวัฒน์ ศรีโยหะ, (2562). การศึกษาและพัฒนาเครื่องเครื่องกลเติมอากาศเติมอากาศพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563, หน้า 173-189.

เทพนิกร แก้วสุวรรณ วีระยุทธ สุดสมบูรณ์ และ อนุรักษ์ ตรีเพ็ช, (2559). การออกแบบกังหันเติมอากาศด้วยพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, กรกฎาคม-ธันวาคม 2559, ปีที่ 9 ฉบับที่ 2, หน้า 12-23.

ธวัชชัย สอนสนาม, ประสิทธิ์ ภูสมมา, ประยุทธ นิสภกุล และ ชาลี อินทรชัย, (2565). การศึกษาและพัฒนาเครื่องเครื่องกลเติมอากาศเติมอากาศพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ที่ 1 ฉบับที่ 3, กันยายน – ธันวาคม 2565, หน้า 57-66.

บงกช ประสิทธิ์ และ สหัถยา ทองสาร. (2563). ศึกษาสมรรถนะเชิงความร้อนของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์ร่วมเซลล์แสงอาทิตย์. การประชุมวิชาการครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัราชภัฏกำแพงเพชร. หน้า 514-518

พรนิภา บริบูรณ์สุขศรี และณัฐ จันท์ครบ. (2563). แบบจำลองการบำบัดน้ำเสียเครื่องเติมอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยล้อกังหัน. SAU Journal of Science and Technology,มิถุนายน-ธันวาคม 2563, ปีที่6 ฉบับที่2, หน้า35-43.

พฤพล คิมประเสริฐ และคณะ. (2561). เครื่องกลเติมอากาศเติมอากาศจากพลังงานแสงอาทิตย์. โรงเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กองวิทยาการ กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ.

ยอดชาย เตียเปิ้น และ ภารดร ทองเสน. (2563). เครื่องเติมอากาศใบพัดพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่3 ฉบับที่1, หน้า 35-44.

วรานนท์ อินต๊ะคำ และคณะ. (2557). การปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาชีพเพาะเห็ด บ้านทุ่งบ่อแป้น อำเภอห้างฉัตร จังหวดลำปาง. การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ รูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทยครั้งที่ 1, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์, 12-14 พฤษจิกายน 2557, หน้า 187-195.

วิจัยพลังงาน. (2536). การประหยัดพลังงานไฟฟ้า. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุสรา นาดี. (2554). จลนพลศาสตร์การอบแห้งใบเตยด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนและลมร้อน. วารสารวิยาศาสตร์บูรพา ครั้งที่ 17.

อาทิตย์ อรุณศิวกุล. (2564). เครื่องบำบัดน้ำเสียโดยอาศัยการเพิ่มอากาศแบบหัวพ่น ควบคุมผ่านอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1, หน้า 38-53.

อุทัย ผ่องรัศมี และคณะ. (2563). ออกแบบและสร้างอุปกรณ์เติมอากาศในนํ้าชนิดใบพัดแบบหนามทุเรียนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารมวิทยาศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, กรกฏาคม-ธันวาคม 2563, ปีที่ 17 ฉบับที่ 2, หน้า 76-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/27/2024

How to Cite

ภูสมมา ป. ., & Korbuakaew, K. (2024). นวัตกรรมพลังงานทดแทนสู่ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในชุมชนพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 8(2), 1–22. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JIT/article/view/271321