การตอบสนองด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตของเปปิโนต่อ ค่าความเข้มข้นของสารละลายที่แตกต่างกัน
คำสำคัญ:
เปปิโน่, ความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหาร, การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาผลของความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเปปิโน่ในระบบไฮโดรโปนิกส์การทดลองในสภาพโรงเรือนช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ณ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์(completely randomize design : CRD) มี4 กรรมวิธี จำนวน 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ต้น คือ 1) EC 1 mS/cm 2) EC 2 mS/cm 3) EC 3 mS/cm และ 4) EC 4 mS/cm ผลการทดลองพบว่าการใช้สารละลายธาตุอาหาร 2 และ 3 mS/cm มีความกว้างใบ และความยาวใบ รวมถึงการเพิ่มความยาวช่อดอก และเส้นผ่านศูนย์กลางช่อดอกสูงที่สุด การใช้สารละลายธาตุอาหาร 4 mS/cm มีผลทำให้น้ำหนักผลของเปปิโน่สูงที่สุด ขณะที่การใช้สารละลายธาตุอาหาร 1 และ 2 mS/cm มีผลเพิ่มปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้แต่ความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารไม่มี
ผลต่อการเจริญเติบโตทางลำต้น ด้านกิ่งหลัก กิ่งย่อยของต้นเปปิโน่ ขนาดผลผลิต และความแน่นเนื้อของผลเปปิโน่
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2558). เอกสารคำแนะนำที่ 5/2558 การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์.กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2018/11/hydroponics.pdf
จิราพร กุลคำ. (2555) การศึกษาระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่เหมาะสมในการผลิตอนูเบียสนานา (Anubias nana) แบบไร้ดิน. วารสารวิจัย
เทคโนโลยีการประมง, 6(2), 78-86.
นภาพร จิตต์ศรัทธา, พิกุล นุชนวลรัตน์. (2021). ผลของระดับความเข้มข้นสารละลายธาตุอาหารที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของฟักทองบัตเตอร์นัทใน
ระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 39(4), 257-263.
อดิศักดิ์ อะปินะ. (2565). ผลของระดับค่าการนาไฟฟ้าของสารละลายธาตุอาหาร ต่อการเจริญเติบโตของเปปิโน ในระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง.
อิทธิสุนทร นันทกิจ. (2538). การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (Hydroponics). ภาควิชาปฐพีคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
ลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.146 น.
อิทธิสุนทร นันทกิจ. (2553). การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเชิงธุรกิจในประเทศไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
และสำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Al Meselmani, M. A. (2022). Nutrient solution for hydroponics. In M., Turan, S., Argin, E., Yildirim and A., Güneş. Recent Research and
Advances in Soilless Culture. IntechOpen, Online: https://www.intechopen.com/books/11093
Chun, O. K., Kim, D. O., Smith, N., Schroeder, D., Han, J. T., & Lee, C. Y. (2005). Daily consumption of phenolics and total antioxidant
capacity from fruit and vegetables in the American diet. Journal of the Science of Food and Agriculture, 85(10), 1715-1724.
Diaz, L. (2006). Industrialización y aprovechamiento de productos y subproductos derivados de materias primas agropecuarias de la
región de Coquimbo (1st Edition). Santiago: LOM ediciones Ltda.
Huett, D.O. (2003). Managing nutrient solutions in hydroponics. NSW Industry and Investment. Orange.
Ross, J. (1998). Hydroponic tomato production. Casper publication.
Sritontip, C., Changjeraja, C., Khaosumain, Y., Panthachod, S., Sritontip, P. and Lasak, S. 2017. Low-cost soilless cultivation (1st ed.). Chiang
Mai, Rajamangala University of Technology Lanna.
Sun, Z., Wang, L., Zhang, G., Yang, S., & Zhong, Q. (2022). Pepino (Solanum muricatum) Metabolic Profiles and Soil Nutrient Association
Analysis in Three Growing Sites on the Loess Plateau of Northwestern China. Metabolites, 12(10), 885.
Wdowikowska, A., Reda, M., Kabała, K., Chohura, P., Jurga, A., Janiak, K., & Janicka, M. (2023). Water and Nutrient Recovery for Cucumber
Hydroponic Cultivation in Simultaneous Biological Treatment of Urine and Grey Water. Plants, 12(6), 1286.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและค่าสะกดต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือเป็นมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด