การจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพผลผลิตของข้าวโพดหวาน

ผู้แต่ง

  • ศิริพร อ่ำทอง -
  • เมทินี นาคดี
  • กิตติพันธ์ เพ็ญศรี

คำสำคัญ:

การผลิตข้าวโพดหวาน, การจัดการดินที่เหมาะสม, จุลินทรีย์ดิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวาน วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 8 กรรมวิธี จำนวน 5 ซ้ำ ผลการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินก่อนปลูกข้าวโพด ดินมีค่า pH 5.08 มีปริมาณอินทรียวัตถุปานกลาง มีปริมาณไนโตรเจนอยู่ในระดับต่ำ ปริมาณฟอสฟอรัสอยู่ในระดับต่ำ ปริมาณโปแตสเซียมอยู่ในระดับที่สูงมาก ปริมาณแคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับต่ำ และปริมาณแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับสูง ผลการวิเคราะห์สมบัติของดินหลังปลูกข้าวโพด 30 วัน ดินมีความเป็นกรดรุนแรงถึงกรดจัด กรรมวิธีที่มีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการใส่ปุ๋ยคอกและเชื้อราไตรโคเดอร์มา ทำให้ต้นข้าวโพดมีความสูงมากที่สุด คือ 188 เซนติเมตร เพิ่มคุณภาพของผลิตข้าวโพดหวานหลังการเก็บเกี่ยวที่อายุ 75 วัน โดยเพิ่มความยาวของฝักที่ปอกเปลือกแล้ว 18.80 เซนติเมตร และมีค่าปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ (ความหวาน) มีค่าสูงที่สุดคือ 16.50 °Brix ผลการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพด กรรมวิธีที่มีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการใส่ปุ๋ยคอกและเชื้อราไตรโคเดอร์มา พบว่า มีค่า pH ของดิน 4.36 มีความเป็นกรดจัดและมีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (0.04) ฟอสฟอรัส (4.32 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) โปแตสเซียม (143.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) แคลเซียม (171.02 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และแมกนีเซียม (264.10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) มีค่าลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เชื้อราไตรโคเดอร์มาช่วยให้การละลายธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่ต้นข้าวโพดนำไปใช้ในการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิต

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2560). การใช้เทคโนโลยีกรมพัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุนการจัดการ

คณาจารย์ภาคปฐพีวิทยา. (2548). ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 547 น.

จิระเดช แจ่มสว่าง. (2563). ไตรโคเดอร์มา เชื้อราปฏิปักษ์ควบคุมโรคพืช. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม. 566 น.

ปัทมา วิตยากร. (2547). ความอุดมสมบูรณ์ของดินขั้นสูง. พิมพ์ครั้ง ที่ 2. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 423 หน้า.

ปัทมา วิตยากร. (2557). ความอุดมสมบูรณ์ของดินและโภชนาการพืช. เอกสารประกอบการสอน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.สืบค้น 26 พฤษภาคม 2567. จาก https://ag2.kku.ac.th/eLearning/132351/Doc%5C132351_Lec_10-3_Phosphorus-57.pdf

ปัญณวิทย์ เย็นจิตร Tida Dethoup และ วาริน อินทนา. (2561). การประยุกต์ใช้ร่วมกันของผงเชื้อ Trichoderma sp. และ Bacillus sp. ต่อการควบคุมโรคเมล็ดด่างที่เกิดจาก Bipolaris oryzae ในข้าว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 49(1): 15-26.

สายทอง แก้วฉาย. (2555). การใช้ไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคพืช. Princess of Naradhiwas University Journal. 4(3): 108-123.

Halifu. S., X. Deng., X. Song and R. Song. (2019). Effects of two Trichoderma strains on plant growth, rhizosphere soil nutrients, and fungal community of Pinus sylvestris var. mongolica annual seedlings. Forest Ecophysiology and Biology. 10(9): 758. https://doi.org/10.3390/f10090758

Harman, G. E., Howell, C. R., Viterbo, A., Chet, I., & Lorito, M. (2004). Trichoderma species—opportunistic, avirulent plant symbionts. Nature Reviews Microbiology, 2(1), 43-56.

Jian Fu, Xiao Y., Liu Z.H., Zhang Y.F., Wang Y.F., Yang K.J. (2020). Trichoderma asperellum improves soil microenvironment in different growth stages and yield of maize in saline-alkaline soil of the Songnen Plain. Plant Soil Environment. 66(22): 639–647.

Sood. M., D. Kapoor., V. Kumar., M. S. Sheteiwy., M. Ramakrishnan., M. Landi., F. Araniti and A. Sharma. (2020). Trichoderma: The "Secrets" of a multitalented biocontrol agent. Plants. 9(6): 762. https://doi.org/10.3390/plants9060762

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/27/2024

How to Cite

อ่ำทอง ศ., นาคดี เ., & เพ็ญศรี ก. (2024). การจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพผลผลิตของข้าวโพดหวาน. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 8(2), 70–82. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JIT/article/view/274428