ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงค์ รัตนะพรม -
  • ชีวพัฒน์ อาจการ
  • ศิริลักษณ์ เพียรการ
  • อัจฉรา เมฆสุวรรณ
  • ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์, การตัดสินใจเลือกซื้อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ และการตัดสินใจเลือกซื้อ และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต อำเภอเมือง จังหวัดลำปางโดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 400 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ และการตัดสินใจเลือกซื้อ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ (b = 0.592) และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (b = 0.218) ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยทุกปัจจัยมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

1. ชนนิกานต์ จุลมกร. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ปริญญานิพนธ์ วท.บ. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

2. ชัยฤทธิ์ ทองรอด และวราภรณ์ สารอินมูล. (2559). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าในตลาดนัดกลางคืนของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย. 21(3); 197-210.

3. ทวีพร พนานิรา. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ A ของผู้บริโภค ในเขตยานนาวา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

4. วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคม ออนไลน์ (อินสตาแกรม)ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

5. สุภาพร ชัยเจริญ (2559). ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านทางพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

6. สุพิทย์ กาญจนพันธุ์. (2550). ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์. กรุงเทพฯ: เทคโนโลยีการศึกษาและการพัฒนาสังคม.

7. สุรัชดา เชิดบุญเมือง, จิรวุฒิ หลอมประโคน และ วิสุทธ์ กล้าหาญ. (2558). ปัจจัยการตลาดและ พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 5(พิเศษ); 63-75.

8. อาภาภรณ์ วัธนกุล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านทางเว็บพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยอดนิยมประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2019