การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารของ โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • รุ่งทิวา ทาปาลี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุวรรณา เลาหะวิสุทธิ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพัฒนา, สารสนเทศทางการบัญชี, การบริหาร, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความต้องการและการพัฒนาข้อมูลการบัญชีเพื่อการบริหารของโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่  โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้บริหารกับความต้องการข้อมูลทางการบัญชีบริหาร 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการวางแผน  ด้านการสั่งการ  ด้านการควบคุมและด้านการตัดสินใจ  รวมทั้งแนวคิดการนำเสนอรายงานทางการเงินให้กับผู้บริหารภายใน แนวทางการวิเคราะห์งบการเงิน และการคำนวณต้นทุน  มีการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากบุคลากรในโรงพยาบาลสารภี  ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหาร เพื่อให้ได้ข้อมูลลักษณะของการใช้ข้อมูลทางการบัญชีและปัญหาก่อนมีการปรับปรุง ออกแบบพัฒนาสารสนเทศความต้องการ และข้อเสนอแนะของผู้บริหาร  เนื่องจากการพัฒนาสารสนเทศนี้มุ่งเน้นการพัฒนาให้ตรงกับความต้องการและมีความเหมาะสมกับการดำเนินงานของหน่วยงานโรงพยาบาลภาครัฐ 

          ในการพัฒนาสารเทศนี้ พบว่าสามารถพัฒนารายงานเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น  45  รายงาน ภายหลังจากการออกแบบรายงานแล้วมีการทดลองเก็บข้อมูลตามรูปแบบรายงานที่จัดทำ และมีการนำเสนอต่อผู้บริหารของโรงพยาบาล  รวมทั้งมีการปรับแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้นหลังจากมีการทดลองใช้  เมื่อสิ้นสุดกระบวนการพัฒนาสารสนเทศแล้ว ได้มีการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารในแต่ละระดับที่มีต่อข้อมูลหรือรายงานที่ผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้นด้วยแบบสอบถาม  ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารแต่ละระดับของโรงพยาบาลสารภี  จังหวัดเชียงใหม่ มีความพึงพอใจต่อข้อมูลหรือรายงานที่มีการจัดทำในระดับมากที่สุดโดยผู้บริหารมีความพึงพอใจต่อข้อมูลหรือรายงานที่มีการจัดทำขึ้นตามความต้องการด้านการวางแผนมากที่สุดและมีความพึงพอใจต่อลักษณะของรายงานที่มีการจัดทำขึ้นตามความต้องการในเรื่องของรูปแบบการนำเสนอรายงานและความชัดเจนของรายงานอยู่ในระดับมากที่สุด

References

1.กฤติยา สุวิมลเจริญ.(2559). ความต้องการของผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนในภาคเหนือในการใช้ข้อมูลบัญชีเพื่อการบริหาร. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

2.กลุ่มข้อมูลทรัพยากรและมาตรฐานรหัสสุขภาพ กลุ่มภารกิจด้านข้อมูลข่าวสารสุขภาพสำนักนโยบายและ ยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). รหัสหน่วยงานบริการสุขภาพ, 22 มิถุนายน 2560. https://203.157.10.8/ hcode_2014/query_set.php?p=2

3.กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือบัญชีสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข.

4.กลุ่มประกันสุขภาพ. (2560). ตารางคำนวณวิกฤติ 7 ระดับ ไตรมาส 4 /2559, 22 มิถุนายน 2560. https://hfo60.cfo.in.th/uploads/Risk7.pdf

5.ณัฐธิติ์ เตชะบุญ. (2557). ความต้องการของผู้ผลิตและส่งออกสินค้าหัตถกรรมในภาคเหนือในการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหาร. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

6.เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ, นิวัต กุลศุภโชติ, ณิชฎา กีรติอุไร และกิ่งแก้ว บุญสุข. (2551). การบัญชีเพื่อการจัดการ (Managerial Accounting).กรุงเทพ ฯ : ไอเดียซอฟท์แวร์เทคโนโลยี.

7.วิมลพรรณ เลาหเจริญยศ. (2553). ความต้องการใช้ข้อมูลทางบัญชีของผู้บริหารของธุรกิจในเขตอุตสาหกรรม เครือสหพัฒน์ ลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

8.ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2560) .ข้อมูล รพ.สต. แยกรายอำเภอจังหวัดจังหวัดเชียงใหม่, 22 มิถุนายน 2560. https://www.chiangmaihealth.go.thcmpho/detail_ article2.php?info_id =1221

9.สิรินพร คำเป็ง . (2557). ความต้องการของผู้ประกอบการส่งออกลำไยในเขตภาคเหนือต่อการใช้ข้อมูลทางการบัญชีบริหาร. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

10.สิริพร บุญเซียม. (2560). หัวหน้างานการเงินและบัญชี โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์. 2 กุมภาพันธ์ 2560.

11.อริญรดา เทวิน. (2556). ความต้องการใช้ข้อมูลบัญชีบริหารของผู้ประกอบการธุรกิจบริการสุขภาพใน จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-11-2018