การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การผลิตเครื่องเงินของชุมชนวัดศรีสุพรรณ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
Local Curriculum, Development of Curriculum, Silverware Manufacturing, Wat Srisupan Communityบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การผลิตเครื่องเงินของชุมชนวัดศรีสุพรรณ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ให้มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องเงินของชุมชนวัดศรีสุพรรณ จำนวน 8 คน คณะกรรมการชุมชนวัดศรีสุพรรณ (สภาบวร) จำนวน 49 คน สามเณรวัดศรีสุพรรณ จำนวน 5 รูป และนักศึกษามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การผลิตเครื่องเงินของชุมชนวัดศรีสุพรรณ จำนวน 3 หลักสูตร ในรูปแบบของหลักสูตรต่อเนื่อง ได้แก่ หลักสูตรระยะสั้น 100 ชั่วโมง หลักสูตรระยะกลาง 150 ชั่วโมง และหลักสูตรระยะยาว 250 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 500 ชั่วโมง 2) ได้แผนจัดการเรียนรู้จำนวน 3 หลักสูตร โดยแผนจัดการเรียนรู้ของทุกหลักสูตรมีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์ 80/80
References
2.กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
3.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.
4.เครือวัลย์ มีเกียรติ. (2548). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์.
5.นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2546). ไฮเทคาถาปาฎิหาริย์ : ว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมไทย.กรุงเทพฯ : มติชน.
6.ประภาพรรณ โซ่มาลา. (2554). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำขนมนางเล็ด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
7.ปิยพร ชุมจันทร์. (2546). กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การผลิตเสื่อกกของโรงเรียนนาหนังพัฒนศึกษา อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
8.พระครูพิทักษ์สุทธิคุณ. (2553). วัดศรีสุพรรณ. เชียงใหม่ : เวียงพิงค์การพิมพ์.
9.วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
10.Saylor, J. G. and W.M. Alexander. (1974). Planning Curriculum for school. New York : Holt Rinlhast and Winston.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง