การพัฒนาแอนิเมชันร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ เรื่อง โครงสร้างของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • อำรัน มะลี 90 m.3 lubokyirai mayor pattani
  • นุชนาฏ ใจดำรงค์
  • เมธี ดิสวัสดิ์

คำสำคัญ:

แอนิเมชัน, เทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  พัฒนาแอนิเมชันร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ เรื่อง โครงสร้างของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ตามเกณฑ์ KW-CAI 2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนกับหลังเรียนด้วยแอนิเมชันร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ เรื่อง โครงสร้างของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 3)  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแอนิเมชันร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ เรื่อง โครงสร้างของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หาประสิทธิภาพสื่อ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านแขนท้าว ตำบลเกาะจัน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานีจำนวน 13 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) และกลุ่มทดลองหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านลางสาด ตำบลกระเสาะ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) จำนวน 14 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1)  แอนิเมชันร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ เรื่อง โครงสร้างของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน เรื่อง โครงสร้างของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 3)  แบบประเมินคุณภาพของแอนิเมชันร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ และ 4)  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแอนิเมชันร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้

          ผลการวิจัยพบว่า 1)  การเรียนรู้ด้วยแอนิเมชันร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ เรื่อง โครงสร้างของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 90.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ KW-CAI  2)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยแอนิเมชันร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ เรื่อง โครงสร้างของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และ 3)  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยแอนิเมชันร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ เรื่อง โครงสร้างของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมาก (  = 3.59 , S.D. = 0.26 )

References

1. กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2. กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2549). เทคโนโลยีการศึกษาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สินทวีการพิมพ์.

3. ธรรมปพน ลีอำนวยโชค. (2550). Intro to Animation : คู่มือสำหรับการเรียนรู้แอนิเมชันเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.

4. บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

5. พนิดา ตันสิริ. (2553). โลกเสมือนผสานโลกจริง Augmented Reality. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/30_2/pdf/aw28.pdf. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2558.

6. วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2551). สื่อและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สกายบุกส์.

7. วารินทร์ รัศมีพรหม. (2541). การออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

8. ศุภชัย วงศ์มูล. (2557). เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) และแอปพลิเคชัน Aurasma. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://supachai287.wordpress.com/2014/06/01/Augmented-reality-aurasma/ สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2559.

9. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2559). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://bet.obec.go.th/index สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2559.

10. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ข้อมูลนักเรียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://data.bopp-obec.info/emis/area_school.php. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-12-2018