แนวทางการพัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP ของวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพ, ผลิตภัณฑ์ OTOP, วิสาหกิจชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดาวเรือง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม และความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนี้ โดยการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ประธานและสมาชิก ประกอบกับการศึกษาเชิงปริมาณโดยการสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยววัด 7 แห่งใน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า วิสาหกิจชุมชนควรพัฒนาสินค้า บริการ บรรจุภัณฑ์และป้ายฉลาก อยู่ในระดับมาก โดยสื่อถึงจุดเด่นของความเป็นไทยหรือวัฒนธรรมท้องถิ่น คุณภาพ ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอย รสชาติ ความสะอาด ปลอดภัย และความสะดวก ส่วนด้านภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ นักท่องเที่ยวต้องการให้วิสาหกิจชุมชนพัฒนาสินค้าที่อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ความเป็นไทยและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการสื่อสารภาพลักษณ์ โดยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เชื่อมโยงกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตหรือสื่อถึงวัฒนธรรม ประธานและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีความเห็นว่าความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ต้องการพัฒนาคือบรรจุภัณฑ์สอดคล้องกับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวและความหลากหลายของประเภทสินค้าเป็นแนวทางการพัฒนาที่แข่งขันได้
References
2.คณิดา ไกรสันติ และรัสมนต์ คำศรี. (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุชาวดี ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 23 มิถุนายน 2559 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
3.นภาลักษณ์ บวรวัฒนาชัย. (2550). ปัจจัยภายในและภายนอกที่จำแนกความสำเร็จของการผลิตสินค้าด้านอาหารในดครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
4.ปิยลักษณ์ เบญจดล. (2549). บรรจุภัณฑ์กับการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
5.รสดา เวษฎาพันธุ์ และ สุมาลี สันตพลวุฒิ. (2555). แนวทางการพัฒนา OTOP ในเขตภาคกลาง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
6.สุดถนอม ตันเจริญ. (2559). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบางขันแตก จ.สมุทรสงคราม, วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ 13(2) หน้า 1-24.
7.สุดถนอม ตันเจริญ. (2560). รายงานผลโครงการพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพและมีคุณลักษณะเป็นไปตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย: เรียนรู้คู่ความเป็นไทย ร่วมใจทำดีกับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน OTOP ต.บางขันแตก อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม. 25 มีนาคม 2560, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
8.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.
9.Armstrong, G.and Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9th Ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
10.Fuller, G.W. (1994). New Product Development: from concept to marketplace.” Florida: CRC Press.
11.Kotler, P. (2000). Marketing management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior (The Millennium). New Jersey: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง