การพัฒนาระบบบัญชีตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

ผู้แต่ง

  • พุทธมน สุวรรณอาสน์ 17/22 Morrakot Road, Tambon Changpuek, Maung District, Chiang Mai

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบบัญชี, แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบบัญชีตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR)  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบัญชีวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาสตรีบ้านต้นโจ้ก (คำซาว) ตำบลสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่  กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มพัฒนาสตรีบ้านต้นโจ้ก (คำซาว) ตำบลสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนสมาชิก 33 ราย  การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก  และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา 

           ผลการศึกษาพบว่า ระบบบัญชีกลุ่มฯ ได้รับการพัฒนาให้มีความเหมาะสม และใช้ประโยชน์มากขึ้น กล่าวคือ สามารถสรุปผลการดำเนินงานที่แท้จริงได้ในรูปของงบกำไรขาดทุน และควบคุมวัตถุดิบและสินค้าให้อยู่ในระบบสินค้า นอกจากนั้นยังผู้จัดทำบัญชีกลุ่มฯ สามารถคำนวณต้นทุนสินค้าได้อย่างถูกต้อง  จึงทำให้สมาชิกกลุ่มฯ มีความพึงพอใจระบบบัญชีใหม่ 10 ประเด็น ได้แก่ 1) สามารรถรับรู้รายรับ/รายจ่ายได้  2) สามารถใช้ควบคุมสินค้าคงคลังได้  3) สามารถรับรู้ต้นทุนสินค้าได้  4) ใช้ในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้  5) ใช้เป็นข้อมูลบริหารการผลิตสินค้าได้  6) ใช้ในการควบคุมและบริหารจัดการวัตถุดิบและวัสดุคงคลังได้  7) สามารถจำแนกลูกหนี้รายตัวและเจ้าหนี้รายตัวได้  8) สามารถรู้ผลการดำเนินงาน และออกรายงานทางการเงินได้สมเหตุสมผล  9) สามารถวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียนได้  10) สามารถใช้ข้อมูลบัญชีในการบริหารจัดการการเงินได้

References

1. กชกร เฉลิมกาญจนา. (2557). การบัญชีบริหาร (Management Accounting). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2. จิตรา พูลเพิ่มทรัพย์. (2544). หลักการบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

3. ณดา จันทร์สม. (2552). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

4. ณัฐพร พันธ์อุดม. (2549). แนวทางการควบคุมภายในที่ดี. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

5. ดวงมณี โกมารทัด. (2551). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6. บันเฉย ศรีแก้ว, วิภาภรณ์ ศรีหาธาตุ และปิยะณัฐ ถุนพุทธดม. (2559). “การพัฒนารูปแบบบัญชีการเงินวิสาหกิจชุมชนทอผ้าสีธรรมชาติ: กรณีศึกษากลุ่ม บ้านหนองหัววัว ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น”, วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 22(2) : 121-130.

7. ประพันธ์ ศิริรัตน์ธำรง. (2543). การวางระบบบัญชี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

8. มยุรี บุตรโต. (2553). การจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนในจังหวัดอุทัยธานี. งานวิจัยคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

9. วิจิตร พูลเพิ่มทรัพย์. (2544). หลักการบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

10. Drury, C. (2008). Management and Cost Account 7th ed. London: South-Western Cengage Learining.

11. Edward J. VanDerbeck. (2008). Principle of Cost Accounting. 14thed Thomson: South-Western.

12. Jamie Pratt. (2011). Financial Accounting in an Economic Context. Eighth Edition Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2019