การวิจัยและพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ:
ศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อศึกษาและพัฒนาศักยภาพชุมชนเกษตร จ.เชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียนอย่างสร้างสรรค์ บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มเกษตรกรชุมชน จ.เชียงใหม่ที่มีศักยภาพการแข่งขันในประชาคมอาเซียน จำนวน 17 ตำบล 20 กลุ่มเกษตรกร อาศัยการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และ การประเมินผลสัมฤทธิ์โดย Diamond Model ของ Michael E. Porter อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนเกษตรมีจุดแข็งคือ สินค้ามีคุณภาพและมีตลาดรองรับ จุดอ่อนคือ เกษตรกรยังขาดความสามารถในการผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณที่เพียงพอ รวมถึงคุณภาพผลผลิตในแต่ละรอบการผลิต โอกาส คือ กลุ่มเกษตรกรมีหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือทั้งด้านความรู้และเงินทุน แต่อุปสรรคที่ต้องเผชิญ คือ มีการแข่งขันของสินค้าเกษตรในตลาดสูง ทั้งด้านราคาและปริมาณ แนวทางในการพัฒนากลุ่มเกษตรกร 6 มิติตามลำดับความสำคัญ เริ่มจากมิติการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยใช้ทรัพยากรของชุมชนอย่างคุ้มค่าตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 88.89) จากนั้นกำหนดมิติของเป้าหมายของการพัฒนาศักยภาพขึ้นโดยกำหนดกลยุทธ์โครงสร้างและการแข่งขันสู่ระดับอาเซียนด้วยการจัดการความรู้ (KM) จากภูมิปัญญาของเกษตรกรชุมชนให้เกิดการต่อยอดของการสร้างมูลค่าเพิ่ม และนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ให้ได้ (ร้อยละ 55.56) เพื่อนำไปสู่มิติด้านการตลาด ซึ่งต้องพัฒนาแบบบูรณาการกับมิติภาครัฐบาล (ร้อยละ 44.44) สุดท้ายต้องเข้าถึงมิติของการพัฒนาระดับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนภาคการเกษตรชุมชนให้สามารถแข่งขันระดับอาเซียนได้ (ร้อยละ 22.22) ทั้งนี้การวิจัยสามารถเพิ่มศักยภาพของชุมชนซึ่งได้ผลลัพธ์ของการพัฒนา 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตร และด้านการตรวจสอบและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.36 รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมภาคการเกษตรขององค์กรภาครัฐในชุมชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.91 ด้านการพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนสู่ระบบอาหารปลอดภัย เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.09 ด้านการพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตร ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.27 ด้านการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ และด้านการต่อยอดภาคการเกษตรของชุมชนให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.45 สุดท้ายคือ ด้านการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.64 การวิจัยในระยะต่อไปจึงควรที่จะให้ความสำคัญของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจการเกษตรของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ให้เพิ่มขึ้น เพื่อแก้ปัญหาของเกษตรกรให้สามารถเข้าแข่งขันในประชาคมอาเซียนได้
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
กีรติ เชาว์ตฤษณาวงษ์ และคณะ (2557). การประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เพื่อทำการเกษตรสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนภายใต้ความพอเพียงของชุมชนปฐมอโศก. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 7(1), 100-110.
จังหวัดเชียงใหม่. (2559). “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.chiangmai.go.th/managing/public/document_list/2? สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561
ดวงกมล บูรณสมภพ. (2557). “กลยุทธ์ใหม่สำหรับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย. การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://th.aectourismthai.com/content1/2442 สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561
ธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ. (2558). “เล่าสองข้างทาง/ดันมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทย ไต่ระดับสู่ตลาดโลก,” มติชนบทเทคโนโลยีชาวบ้าน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.technologychaoban.com/news_detail.php?tnid=1942 สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561
นันทิยา หุตานุวัตร. (2546). “SWOT การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจชุมชน: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.jit-jai-d.blogspot.com/2007/08/swot.html สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). “สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12,” สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nesdb.go.th/download/plan12/สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังแห่งชาติฉบับที่12.pdf สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561
วีระศักดิ์ สมยานะ. (2559). แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในกรอบ ประชาคมอาเซียน ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีที่ 2. สาขาเศรษฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2559). การพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและนำไปสู่การแข่งขันและการพึ่งพาตนเอง.
อภิชาติ ใจอารีย์. (2557). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแปรรูปหน่อไม้ ของชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการเมืองการปกครอง, 4(2), 241-158.
อรพินท์ บุญสิน. (2557). แนวทางการสร้างผลลัพธ์การผลิตสินค้าเชิงสร้างสรรค์สาหรับ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในภาคอุตสาหกรรม. WMS Journal of Management, 3(3), 22-31.
Brian A. Keating and group. (2010). Eco-efficient Agriculture: Concepts, Challenges, and Opportunities. Crop Science, 50(Suppl. 1), S-109-S-119.
Dongpo Li, Shigryoshi Takeuchi and Teruaki Nanseki. (2012). Measurement of Agricultural Production Efficiency and the Determinants in China Based on a DEA Approach: A Case Study of 99 Farms from Hebei Province. Kyushu University: Japan.
L.O. Akhilomen and group. (2015). Economic Efficiency Analysis of Pineapple Production in Edo State, Nigeria: A Stochastic Frontier Production Approach. American Journal of Experimental Agriculture, vol. 5(3), 267-280.
Michael E. Porter. (1990). The Competitive Advantage of Nations: With a new Introduction. New York. USA. Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง