ความต้องการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ปฏิบัติงาน ด้านการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ, ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี, โรงพยาบาลชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ ของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดลำปาง โดยใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด 51 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 30–40ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานของรัฐ มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี 5–10 ปี ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลขนาด 30 เตียง และได้รับการอบรมหรือเข้าสัมมนามากกว่า 1 ครั้งต่อปี มีระดับความต้องการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มเพศชายมีระดับความต้องการพัฒนาความรู้มากกว่าเพศหญิง กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาด 120 เตียง มีความต้องการพัฒนาความรู้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริหารในการทำข้อมูลที่รวดเร็วและเป็นปัจจุบัน กลุ่มมีประสบการณ์ทำงาน 11-15 ปี มีความต้องการพัฒนาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้กับงานที่ทำเพื่อนำเสนอแก่ผู้บริหาร กลุ่มผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมสัมมนามากกว่า 1 ครั้งต่อปี มีความต้องการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงิน
ข้อเสนอแนะจากผลวิจัย ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนบุคลากรในการอบรมหรือสัมมนา โดยจัดสรรงบประมาณสนับสนุน จัดอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับสิ่งใหม่ การสร้างความเชื่อมั่นในระบบค่าตอบแทนและมีการกระจายอำนาจความรับผิดชอบ
References
2. กิติภูมิ จุฑาสมิต. (2560). “โรงพยาบาลชุมชนต้องทำมากกว่าการรักษา. บทสัมภาษณ์,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://isaanrecord.com/ สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2560.
3. กลุ่มงานประกันสุขภาพ. (2560). โครงการพิจารณาปัญหาสถานะการเงินและปรับปรุงระบบการเงินและบัญชีของหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข, [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http:// hfo59.cfo.in.th/ สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2560.
4. เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: โรงพิมพ์คลองช่าง.
5. ณฐา ธรเจริญกุล. (2558). “ความต้องการของผู้ทำบัญชีที่มีต่อกิจกรรมการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทาง วิชาชีพบัญชี ในเขตบางนาและพื้นที่ใกล้เคียง,” วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษา เอกชนแห่งประเทศไทย. 20(2): 90-98.
6. บุญธรรม พรเจริญ และกัณหา โฉมศรี. (2559). “การประเมินผลการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำ บัญชีในภาคธุรกิจไทย ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 รองรับประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร,” วารสารวิชาการศรีปทุม. 13(2): 46-57.
7. สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. มหาสารคาม: ภาควิชาวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
8. สุภาพันธุ์ สายทองอินทร์. (2556). การพัฒนาประสิทธิผลในกรทำงานของผู้ทำบัญชี หลังจากเข้ารับการ พัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 591-602.
9. สุมินทร เบ้าธรรม. (2555). “ประสิทธิผลในการทำงานของผู้ทำบัญชีไทย : ผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ,” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 31(1):142-153.
10. สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). “ข่าวเพื่อสื่อมวลชน,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.pr.moph.go.th./ สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2559.
11. อลงกรณ์ ผลสวัสดิ์. 2560. “กรอบอัตรากำลังสายงานสนับสนุน,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.kkpho.go.th/ สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2560.
12. Littunen, H. (2000). “Entrepreneurship and the characteristics of the entrepreneurial Personality,” International Journal of Entrepreneurial Behavior & Research, 6(6): 259-309.
13. Nuryaman. (2015). “The Influence of Intellectual capital on The Firm’s Value with The Financial Performance as Intervening Variable,” Procedia-Social and Behavior Sciences, 211(2015): 292-298.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง