การพัฒนาสื่อ e-Learning ผีปู่ย่าสื่อสัมพันธ์สร้างสรรค์ชุมชนตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์ 119 หมู่ 9 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52100
  • เกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์
  • สุทธิมั่น ปิยะโกศล
  • สุธาสินี ยันตรวัฒนา

คำสำคัญ:

อีเลิร์นนิ่ง, ผีปู่ย่า

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทเกี่ยวกับผีปู่ย่า ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 2) เพื่อสร้างและนำสื่อ e-Learning ผีปู่ย่า ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ไปใช้เพื่อหาประสิทธิภาพ  และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยสื่อ e-Learning ผีปู่ย่า ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนห้วยมะเกลือวิทยา ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง จำนวน 22 คน ดำเนินการวิจัย เป็น 3 ระยะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับบริบทผีปู่ย่า  สื่อ e-Learning ผีปู่ย่าสื่อสัมพันธ์สร้างสรรค์ชุมชน ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง  และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  และการวิเคราะห์เชิงเหตุผลเป็นหลัก ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

  1. บริบทผีปู่ย่า ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีจำนวน 9 ผี ได้แก่ 1) ป่าพ่วง ตับเพิ้ง ต้าวจี๋

2) ข้อมือเหล็ก ฝายู หน่อหล้า ห่มขาว 3) พ่อแผ่นหลวง 4) เจ้าอาฮักหลักคำ 5) เจ้าอาฮักคำแดง 6) เจ้าจ้างเผือก   7) เจ้าพ่อเหล่าคำ 8) เจ้าข้อมือคำและ 9) ผีปู่ย่าบ้านสามขา องค์ประกอบในการสื่อสาร (SMCR) ระหว่างผีปู่ย่ากับลูกหลาน ได้แก่ ม้าทรง ตั้งข้าว เจ้าด้าม โดย “ม้าทรง” จะเป็นร่างทรงที่ผีปู่ย่าสิงสถิต “เจ้าด้าม” จะเป็นผู้อันเชิญดวงวิญญาณผีปู่ย่าเข้ามาสิงสถิตที่ม้าทรงเพื่อสื่อสารกับลูกหลาน และ“ตั้งข้าว” จะเป็นตัวแทนเจ้าด้ามในกรณีที่ไม่มีเจ้าด้ามในตระกูลผีปู่ย่านั้นๆ การสืบทอดสกุลผีปู่ย่าในวงศ์วานหว่านเครือเดียวกันจะสืบทอดตามผีทางฝ่ายแม่    โดยกิจกรรมผีปู่ย่าสื่อสัมพันธ์สร้างสรรค์ชุมชนก่อให้เกิดคุณค่า ดังนี้ 1) คุณค่าทางจิตใจที่ลูกหลานได้กลับสู่ถิ่นฐานบ้านเกิด สำนึกรักบ้านเกิด 2) การสำนึกถึงบุญคุณบรรพบุรุษที่เลี้ยงดูตนเองมาจนเติบโต 3) เกรงกลัวต่อการทำความผิดเพราะจะถูกผีปู่ย่าลงโทษ 3) การได้อบรมสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติปฏิบัติตนให้ดีงามตามรากเหง้าของตนเอง ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น 4) รักใคร่ กลมเกลียว สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เห็นคุณค่าในพวกพ้องตนเอง 5) อวยพรและสร้างขวัญ กำลังใจให้กับลูกหลาน และ 6) ปฏิบัติกิจกรรมผีปู่ย่าร่วมกัน สืบทอดจากบรรพบุรุษรุ่นสู่รุ่น

  1. 2. สื่อ e-Learning ผีปู่ย่า ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีคุณภาพในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.78 และเมื่อนำสื่อ e-Learning ผีปู่ย่าสื่อสัมพันธ์สร้างสรรค์ชุมชนตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ไปใช้เพื่อหาประสิทธิภาพพบว่ามีค่าเท่ากับ 84.75/83.64 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนด
  2. 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยสื่อ e-Learning ผีปู่ย่าสื่อสัมพันธ์สร้างสรรค์ชุมชน ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39

     

References

1.กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว, ปวีณา งามประภาสม, ภานุวัฒน์ รังสรรค์ และ มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์. (2558). ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์บ้านจำปุย อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง.

2.กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์.

3.จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2544). Desktop Publishing สู่ e-book. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4.ใจทิพย์ ณ สงขลา.(2550).E-Instructional Design วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

5.ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6.ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2545). Designing e-Learning หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

7.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2545). ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบตและญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

8.พัชรี จักรชุม. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอุ้มเหม้าประชาสวรรค์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

9.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). E-BOOK หนังสือพูดได้. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.

10.มะยุรีย์ พิทยาเสนย์.(2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม Adobe Flash Professional . คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

11.วรรณี ลิมอักษร (2541). จิตวิทยาการศึกษา.สงขลา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

12.สุมาลี ชัยเจริญ.(2551).เทคโนโลยีการศึกษา หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-11-2018