การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study: LS) ของครู โรงเรียนบ้านแม่จ้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การพัฒนาครู, การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study: LS) ของครูโรงเรียนบ้านแม่จ้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพบริบทการพัฒนาครูของโรงเรียนแม่จ้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (2) เพื่อศึกษาการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study: LS) ของครูโรงเรียนบ้านแม่จ้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครู จำนวน 6 คน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน นักเรียนจำนวน 12 คน และผู้ปกครองจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตการบริหารงานองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษา และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา แล้วนำเสนอการวิจัยโดยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพบริบทการพัฒนาครูของโรงเรียนบ้านแม่จ้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 1 เป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่บูรณาการการเรียนรู้ในวันสำคัญต่าง ๆ ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning: BBL) จึงทำให้โรงเรียนบ้านแม่จ้องประสบความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ ต่อมาคณะครูได้เข้ารับการอบรมโครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตามโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำความรู้ที่ได้มาช่วยในการจัดการเรียนการสอนในกิจกรรมหน่วยบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่บูรณาการในวันสำคัญต่าง ๆ ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมทุกเดือนเดือนละ 1 ครั้ง
- การพัฒนาครูโรงเรียนบ้านแม่จ้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครูได้นำกระบวนการระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) การชี้แนะ (Coaching) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) และจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) เข้ามาช่วยในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษา โดยผู้บริหารสถานศึกษาเปลี่ยนกระบวนการบริหารงานให้ครูมีส่วนร่วม รับฟังความคิดเห็นของครูอย่างตั้งใจ จัดตารางเวลาให้ครูสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงของวันอังคาร เวลา 14.00 – 16.00 น. โดยให้ครูนำประเด็นที่เป็นปัญหาการจัดการเรียนการสอนมานำเสนอที่ประชุม จากนั้นให้ครูที่ประสบความสำเร็จเล่าถึงวิธีการแก้ปัญหาในประเด็นนั้น ทุกคนฟังอย่างตั้งใจและร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์ สำหรับครูได้ปรับกระบวนการคิด เปลี่ยนวิธีการสอนในกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียนเข้าสู่ในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งทางโรงเรียนบ้านแม่จ้องได้นำกระบวนการ การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study: LS) ของชาริณี ตรีวรัญญู (2552 หน้า 20) มาประยุกต์ใช้กับบริบทของสถานศึกษาโดยกำหนดขั้นตอนการพัฒนาครูในการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study: LS) ออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผนการสอนร่วมกัน (LS1) ขั้นที่ 2 ขั้นจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ (LS2) ขั้นที่ 3 ขั้นสังเกตการสอน (LS3) และขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนบทเรียน (LS4) ส่งผลให้ครูสามารถพัฒนาตนเองและเปิดโอกาสให้กับตนเองที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองไปพร้อมกับนักเรียนในยุคศตวรรษที่ 21 จากการถ่ายทอดความรู้เปลี่ยนเป็น ผู้อำนวยความสะดวกและให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย จนนักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
References
2. ธีระศักดิ์ บึงมุม. (2559). การบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 8(2) : 134-140.
3. นภาพร วรเนตรสุดาทิพย์. (2554). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) : แนวคิดใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพครู Lesson Study: A New Concept for Teacher Professional Development, วารสารวิจัย มข, 1(2) : 86-99.
4. นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ. (2558), [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.mkarea2.go.th/UserFiles/File/291058_1.pdf สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559.
5. นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. (2552). การศึกษาชั้นเรียน : นวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปครู, บทความวิชาการ, 32(2) : 12-21.
6. บังอร เสรีรัตน์ ชาริณี ตรีวรัญญู และเรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2558) .วิถีสร้างครูสู่ศิษย์ : เอกสารประมวลแนวคิดและแนวทางพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับคณะทำงาน. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
7. ปราณี อ่อนศรี. (2557). จิตตปัญญาศึกษา : การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21, วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1) : 7-11.
8. ปริชมน กาลพัฒน์. (2554). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, คณะเภสัชศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
9. รายงานประจำปีของสถานศึกษา. (2559). รายงานประจำปี 2559. เชียงใหม่: โรงเรียนบ้านแม่จ้อง.
10. รัตนา ดวงแก้ว. (2553). คู่มือการถอดบทเรียนโครงการพัฒนาชุมชน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http: banprak-nfe.com/webbord/index.php? สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2559.
11. ลัดดา ศิลาน้อยและคณะ. (2554). รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน, วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(3) : 281-291.
12. วิจักขณ์ พานิช. (2550). เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ การศึกษาดั่งเส้นทางแสวงหาทางจิตวิญญาณ. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
13. วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21, กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
14. วีรนุช สุทธพันธ์. (2558). รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธที่มุ่งเน้นจิตอาสาของนักเรียนประถมศึกษา, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 5(2) :112-121.
15. สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2559). “การยกระดับคุณภาพ ครูไทยในศตวรรษที่ 21.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://seminar.glf.or.th/file/Download File/621 สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2559.
16. อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2552). “เทคนิคการนิเทศ : ระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษา (Mentoring).” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://panchalee.wordpress.com/2009/07/28/mentoring สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง