การประยุกต์ใช้ Google earth สำหรับพัฒนาสื่อโฆษณา: แนะนำเส้นทางสถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดจันทบุรีด้วยวิธีการทางการตลาดผ่านสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • วชิรธร จันทร์ชมภู Rajamangala University of Technology Tawan-ok Chantaburi Campus
  • สุพรรณี ปลัดศรีช่วย

คำสำคัญ:

สื่อมัลติมิเดีย, ระบบข้อมูลดิจิทัลสามมิติการนำเสนอการท่องเที่ยว, การตลาดออนไลน์

บทคัดย่อ

จังหวัดจันทบุรีมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ทำให้การท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น ซึ่งส่งผลต่อรายได้ของประเทศ การใช้รูปแบบของการสร้างเครื่องมือทางการตลาดบนโลกอินเตอร์เน็ตในการกระจายและสร้างมูลค่าทางการตลาด โดยการสร้างการติดต่อสื่อสาร การผลิตสื่อโฆษณาแนะนำเส้นทางสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี สร้างความบันเทิง การปฏิสัมพันธ์ ความนิยม ความเฉพาะเจาะจง และการตลาดแบบปากต่อไป ในการศึกษาครั้งนี้ ได้นำเอาความสามารถของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้แก่โปรแกรม Google Earth ซึ่งมีความสามารถในการให้ข้อมูลโดยลักษณะของข้อมูล ได้แก่ เส้น (Line) ตำแหน่งจุด (Point) ขอบเขตพื้นที่ (Polygon) และภาพถ่ายดาวเทียม (Raster) มาช่วยในการผลิตสื่อโฆษณา ซึ่งจะทำให้ผู้รับสื่อโฆษณาสามารถมองเห็นสภาพพื้นที่ เส้นทาง ระยะทาง ตำแหน่งที่ตั้งเพื่อใช้สำหรับการวางแผนการท่องเที่ยวและกำหนดวันในการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อโฆษณาแนะนำเส้นทางสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อศึกษาช่องทางการโฆษณาโดยวิธีการทางการตลาดออนไลน์ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของสื่อโฆษณาสำหรับการประยุกต์ใช้งานโปรแกรม Google Earth และช่องทางการตลาด โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นและความตรงเชิงเนื้อหา จากประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน ด้วยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จาก 3 ปัจจัย

ผลการศึกษาพบว่า การประยุกต์ใช้ Google earth สำหรับพัฒนาสื่อโฆษณา: แนะนำเส้นทางสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบรีด้วยวิธีการทางการตลาดผ่านสังคมออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม ตามปัจจัยในการประเมิน ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านเนื้อหาของสื่อโฆษณา 2) ปัจจัยด้านการออกแบบและจัดรูปแบบสื่อ โดยการประยุกต์ใช้ Google Earth และ 3) ความเหมาะสมของการโฆษณาโดยวิธีการทางการตลาดผ่านสังคมออนไลน์

References

ณัฐวดี เรืองศิริเดชา. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชั่น Google Maps บนสมาร์ทโฟนของประชากรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธัญญรัตน์ ไชยคราม. (2563). การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อสร้างแผนที่ออนไลน์ผ่านเทคโนโลยี Google Maps GIS Online ในกลุ่มการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 28(4). 575-586.

วนิชญา ลางคุลเกษตริน และนาถนเรศ อาคาสุวรรณ. (2561). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน: ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. ในการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1. (น. 521-530). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

วรัญชนา ใจสม. (2560). การศึกษาปัจจัยการรับรู้สื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อาคีรา ราชเวียง. (2560). การโฆษณาออนไลน์ด้านการท่องเที่ยวเพื่อกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(1). 119-128.

อารยา เกียรติก้อง, กมลศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว และปิยวัฒ เกียรติก้อง. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

Claudio, S., & Larry, C., (2019). Outlining a New Approach to Study Mobile Marketing: Relevancy as a Primary Mediating Construct to Understand Mobile Advertising Effectiveness, Proceeding of the 2019 5th International Conference on E-business and Mobile Commerce, 17-34. [online], Available: https://dl.acm.org/doi/abs/10.1145/3332324.3332326

Emily, S., Rodrio, D. O., & Joshua, L., (2017). Challenges on the Journey to Co-Watching Youtube. Processdings of the 2017 ACM Conference on Computer Supported Cooperative Work and Social Computing, 783-793. [online], Available: https://dl.acm.org/doi/abs/10.1145/2998181.2998228

Haifeng, H., & Wai, L., (2011). Development of Three-Dimensional Digital Tourism Presentation System Based on Google Earth API. Proceedings IEEE International Conference on Spatial Data Mining and Geographical Knowledge Services, 300-302. DOI:10.1109/ICSDM17650.2011

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2020