การสื่อสารเพื่อสร้างและต่อรองความหมายของสื่อสาธารณะเพื่อกลุ่มคนชายขอบ: กรณีศึกษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี
คำสำคัญ:
การสื่อสารเพื่อสร้างและต่อรองความหมาย, สื่อสาธารณะ, คนชายขอบบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยการสื่อสารเพื่อการสร้างและต่อรองความหมายของสื่อสาธารณะเพื่อกลุ่มคนชายขอบ: กรณีศึกษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างรายการที่ผลิตโดยสื่อสาธารณะ จำนวน 6 รายการ 7 ตอน ได้แก่ 1) รายการที่นี่ Thai PBS 2) รายการพลิกปมข่าว 3) รายการแพะ เดอะซีรีส์ 4) รายการสามัญชนคนไทย 5) รายการเปิดบ้าน Thai PBS 6) รายการตอบโจทย์ไทยพีบีเอส และ 7) รายการนารีกระจ่าง
ผลการศึกษาพบว่าสื่อสาธารณะได้พยายามสร้างและนำเสนอความหมายใหม่เกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้กับสังคมได้รับรู้ว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ได้เป็นกลุ่มคนที่สิ้นหวังรอความตายและมีสภาพร่างกายซูบผอมน่ารังเกียจเหมือนกับทัศนคติและอคติที่สังคมมีต่อกลุ่มคนเหล่านี้ ปัจจุบันเมื่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้เข้าสู่กระบวนการรักษาที่ถูกต้องก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตและมีคุณภาพชีวิตได้อย่างปกติ สื่อสาธารณะพยายามต่อรองความหมายใหม่ให้สังคมเกิดความตระหนักและรับรู้ว่ากลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์เป็นบุคคลที่น่าสงสารเป็นบุคคลที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสังคม เป็นเหยื่อของสังคมที่ทุกคนควรจะเห็นใจและเข้าใจว่าผู้ติดเชื้อเอชไอเป็นเหมือนกับบุคคลทั่วไปที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งปัจจุบันคนในสังคมมีการเปิดรับและยอมรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างถูกต้องและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติมากขึ้นและเข้าใจว่าเชื้อเอชไอวีไม่ได้แพร่กระจายได้ง่ายต้องมีปัจจัยร่วม เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นต้น
References
2.กาญจนา แก้วเทพ. (2547). การศึกษาสื่อสารมวลชนด้วยทฤษฏีวิพากษ์. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ลิฟ
3.กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด.
4.กาญจนา แก้วเทพและสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารนักคิดทฤษฏีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
5.กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สื่อสารมวลชน: ทฤษฏีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์
6.วัชรพล พุทธรักษา. (2557). บทสำรวจความคิดทางการเมืองของอันโตนิโอ กรัมชี่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมมุติ
7.จิราพร จิระสถิต. (2542). การรับรู้และถูกตีตราจากสังคมและปัจจัยบางประการที่มีอิทธิพลต่อความว้าเหว่ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
8.สิริกานต์ สุวรรณผู. (2554). การสื่อสารเพื่อต่อรองทางอุดมการณ์ของวัฒนธรรมคำเมือง : กรณีศึกษาเพลงโฟล์กซองคำเมืองของจรัล มโนเพ็ชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9.ภัทรขวัญ ทองเถาว์. (2554). ภาพคนชายขอบในวรรณกรรมเยาวชน. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
10.สุดารัตน์ โคกคำยาน. (2556). กระบวนการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์โดยใช้รูปแบบละครจำลอง ชีวิตจริงของผู้ชมทางบ้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง