การประเมินผลการควบคุมภายใน และแนวทางการพัฒนาระบบการควบคุมภายในของเทศบาลในเขตจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สรัญญา ทั้งสุข
  • กมลทิพย์ คำใจ

คำสำคัญ:

การประเมินผล, การพัฒนา, ระบบการควบคุมภายใน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1) ผลการประเมินการควบคุมภายใน 2) แนวทางการพัฒนาระบบการควบคุมภายใน และ 3) ปัญหาและอุปสรรค ในการจัดวางระบบการควบคุมภายใน ของเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผลการควบคุมภายใน จากเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 121 คน และการสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาระบบการควบคุมภายใน และปัญหาและอุปสรรคในการจัดวางระบบควบคุมภายใน ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมภายในของเทศบาลในเขตจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 13 คน จากเทศบาลขนาดใหญ่ จำนวน 1 คน เทศบาลขนาดกลาง จำนวน 6 คน และเทศบาลขนาดเล็ก จำนวน 6 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ค่าสถิติความถี่ และร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดย เทคนิคการแจงนับ และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

           1) การประเมินผลการควบคุมภายในของเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลการควบคุมภายในของเทศบาลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินการควบคุมภายในแยกตามแต่ละด้าน พบว่า ด้านแผนงาน การประเมินผลการควบคุมภายใน มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก ด้านการเงินการบัญชี การประเมินผลการควบคุมภายใน มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ด้านรายได้ การประเมินผลการควบคุมภายใน มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก ด้านการใช้จ่ายเงิน การประเมินผลการควบคุมภายใน มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด และด้านการพัสดุ การประเมินผลการควบคุมภายใน มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก

          2) แนวทางการพัฒนาระบบการควบคุมภายในของเทศบาล ได้แก่ ฝ่ายบริหารควรออกแบบโครงสร้างระบบควบคุมภายในให้สอดคล้องและเหมาะสมกับภารกิจของแต่ละส่วนงาน การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมการควบคุมภายในในหน่วยงาน เช่น การกำหนดจริยธรรมของการทำงาน ความซื่อสัตย์ ความไว้ใจได้ ความโปร่งใส การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ตามหลักธรรมาภิบาล และการประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เป็นลายลักษณ์อักษร

          3) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดวางระบบการควบคุมภายในของเทศบาล ได้แก่ บุคลากรในองค์กรยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ และความสำคัญของระบบควบคุมภายใน ผู้บริหารไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการจัดวางระบบการควบคุมภายในอย่างจริงจัง และการขาดคุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร

References

1.กรมบัญชีกลาง. (2553) . แนวปฏิบัติระบบการควบคุมภายในภาคราชการ. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง.

2.กัญญาณัฐ นอกกระโทก. (2555). แนวทางการพัฒนาระบบการควบคุมภายในด้านการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

3.จงกลณีย์ สุริยวงค์. (2551). แนวทางการควบคุมภายในทางการเงินและบัญชีของเทศบาลตำบลในอำเภอเมืองเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

4.จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที พี เอ็นเพรส.

5.เนตรดาว ทองประกอบ. (2550). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของมาตรการควบคุมภายในระหว่างเทศบาลขนาดใหญ่และเทศบาลขนาดเล็ก กรณีศึกษาเทศบาลนครนครราชสีมากับ เทศบาลตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

6.พะยอม สาสกุล. (2550). ความคิดเห็นในการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

7.มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2560). เอกสารเผยแพร่ความรู้ ข้อบกพร่องที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบ. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2560 จาก www2.tsu.ac.th/ecba/UserFiles/คู่มือผู้เข้ารับการอบรม.pdf

8.สุกัญญา หาระมี. (2554). แนวทางการพัฒนาการควบคุมภายในของเทศบาลตำบลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

9.สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. (2544). ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

10.สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. (2560). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2560 จาก https://www.chiangmailocal.go.th/index09.php

11.อรวรรณ ค้ากระโทก. (2554). แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมภายในทางการเงินและบัญชีขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

12.Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission (COSO). (2011). Internal control-Integrated Framework. [Online]. Available http//www.coso.org (December 2011).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-11-2018