การรับรู้ และความไว้วางใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ณัฐภูมินทร์ ตาอินบุตร
  • นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความไว้วางใจ, การตัดสินใจ, พร้อมเพย์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับการรับรู้ ความไว้วางใจ และการตัดสินใจใช้ระบบพร้อมเพย์ ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดลำปาง รวมทั้งศึกษาการรับรู้ และความไว้วางใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ระบบพร้อมเพย์ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดลำปาง ผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือคือ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดลำปางที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ จำนวน 384 คน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบ Enter      

          ผลการศึกษาพบว่า ระดับการรับรู้ ระดับความไว้วางใจ และระดับการตัดสินใจใช้ระบบพร้อมเพย์ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดลำปางอยู่ในระดับมาก ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ระบบพร้อมเพย์ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดลำปางมากที่สุดคือ ความไว้วางใจ และรองลงมาคือ การรับรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1.กฤษณา ศักดิ์ศรี. (2530). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: นิยมวิทยา.

2.ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). บริการพร้อมเพย์. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/PromptPay (2561, มกราคม 5)

3.บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

4.พสุ เดชะรินทร์. (2547). Balanced Scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

5.ภาวิดา หม่อมปลัด. (2556). ความไว้วางใจด้านความปลอดภัยของผู้ใช้บริการต่อเทคโนโลยีการทำธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

6.ฤทัยภัทร ทำว่อง. (2557). การตัดสินใจเลือกใช้บริการทางการเงินผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนของลูกค้าธนาคารออมสิน ในเขตลำปาง 1. การค้นคว้าอิสระสาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น.

7.ศุภนีวรรณ จูตระกูล. (2559). อนาคตของธนาคารกับบทบาทที่เปลี่ยนไป. สืบค้นจาก https://www.mangozero.com/the-future-of-mobile-banking (2561, มกราคม 21)

8.สัญชัย อุปะเดีย. (2553). ปัจจัยด้านการรับรู้เกี่ยวกับระพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการชำระเงินผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

9.Brenan, R. L., (1972). A generalized upper – lower item discrimination index. Education and Psychological Measurement, pp. 289 - 303.

10.Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement, pp. 607 - 610

11.Lee, Chang F., John C. Lee and Alice C. (2000). Statistics for Business and Financial Economics. (2nd ed). Singapore : World Scientific, p. 704.

12.Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill, pp. 245 - 246

13.Oppenheim, A. N. (1966), Questionnaire design and attitude measurement. (2nd ed.). New York : Basic Book

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-11-2018