การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของธุรกิจหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ประเภทกลุ่มผู้ผลิตชุมชน : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีสารสนเทศ, หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, โอทอปบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ศึกษาลักษณะผลิตภัณฑ์ของธุรกิจโอทอป ประเภท “กลุ่มผู้ผลิตชุมชน” การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ธุรกิจโอทอป การใช้และปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบการโอทอป และทัศนะของผู้ประกอบการต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจโอทอป การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีส่งแบบสอบถามไปยังผู้ประกอบการโอทอปจำนวน 138 ราย ในจังหวัดสงขลา และสัมภาษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ธุรกิจโอทอป ประเภทนี้ส่วนใหญ่ดำเนินงานมาแล้วมากกว่า 4 ปี ผลิตสินค้าประเภทอาหารและของใช้ และผู้ประกอบการส่วนใหญ่เคยได้รับการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาธุรกิจโอทอป แต่ในทางปฏิบัติ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศส่วนใหญ่นำมาใช้เพื่อนำเสนอภาพสินค้าทางออนไลน์ และจัดทำวิธีการซื้อขายให้มีความสะดวกมากขึ้นมากกว่าการสร้างภาพลักษณ์สินค้าเพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจโอทอปประเภทนี้เสียเปรียบคู่แข่งในตลาดใหญ่ นอกจากนั้น จากการที่โอทอปประเภทนี้เน้นตลาดระดับชุมชน ทำให้ผู้ประกอบการไม่เห็นความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาธุรกิจ แนวทางในการส่งเสริมให้ธุรกิจโอทอปประเภทนี้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ การเผยแพร่เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการทั่วไปใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาธุรกิจ และการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจเทคโนโลยีสารสนเทศทำงานด้านโอทอป
References
2. ธันยมัย เจียรกุล. 2557. ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ โอทอป เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร, 34(1), 182-186.
3. บุษราภรณ์ มหัทธนชัย. 2552. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ โอทอป ของตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารราชภัฏเชียงใหม่, 42-49.
4. ปาทิตตา สุขสมบูรณ์ การ์เซีย, & คณะ. 2556. การพัฒนาธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5. 37-47.
5. พูลศรี พูลสวัสดิ์. 2554. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) มาใช้กับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ในกลุ่มภาคกลางฝั่งตะวันออก. สหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 1(2). ตุลาคม 2553 –มกราคม 2554. 66-75.
6. ภคินี ดีรัศมี. 2552. แนวคิดในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการหาทำเลที่ตั้ง ศูนย์กระจายสินค้า สำหรับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์กรณีศึกษา จังหวัดชลบุรี. การประชุมสัมมนาวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 9 (ThaiVCML2009). 283-292.
7. สำนักนายกรัฐมนตรี. 2544. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ.2544. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
8. สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย. 2556. แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2556 – 2561.กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย.
9. สุมาลี จันทร์จินดา, กิตติพงศ์ หะวิเกตุ, จารุต บุศราทิจ และ จุฑาภรณ์ นาทนฤมาณ. 2559. ระบบสารสนเทศการซื้อ – ขายสินค้า โอทอป. การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 30-31 มีนาคม 2559.
10. รัฐพรรัตน์ งามวงศ์, กฤษณพล เกิดทองคา, และฉัตรชัย อินทสังข์. 2559. รายงานวิจัยเรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ โอทอป ในอำเภอเมือง จังหวัด นครราชสีมา. นครราชสีมา: คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. หน้า 71-78.
11. กรมพัฒนาชุมชน. 2559. โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://chiangrai.cdd.go.th/services/โอทอป-2559-2557-2558 สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2559.
12. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. 2560. พาณิชย์ ยกระดับมาตรฐานสินค้าโอทอปจากภูมิปัญญาไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=469404975&filename=index สืบค้นเมื่อ 4 กรกฏาคม 2561.
13. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2557. รายงานสรุปผลที่สำคัญการสำรวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/2JGJmAA สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง