การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของนิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยนเรศวร
คำสำคัญ:
ความวิตกกังวลในการเรียนภาษา, การเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ, สมมติฐานตัวกรองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของนิสิต 2 กลุ่มได้แก่ นิสิตคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 49 คน และนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 39 คน จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อทดสอบว่า นิสิตจากสาขาวิชาที่มีความแตกต่างกัน จะมีระดับความวิตกกังวลและปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนที่คล้ายคลึง หรือแตกต่างกันมากน้อยอย่างไร โดยใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า Foreign Language Classroom Anxiety Scale (FLCAS) ซึ่งคิดค้นโดย Horwitz และคณะ (1986) นอกจากนี้ยังได้ทำการเลือกตัวแทนนิสิตจากทั้งสองกลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 5 คน ซึ่งมีคะแนน FLCAS สูงสุดมาทำการสัมภาษณ์ โดยใช้คำถามสัมภาษณ์ซึ่งดัดแปลงมาจากบทสัมภาษณ์ที่คิดค้นโดย Toth (2011) เพื่อหาสาเหตุและปัจจัยเพิ่มเติมที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของนิสิตทั้งสองกลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า ค่าความวิตกกังวลโดยรวมในการเรียนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญใน 2 ปัจจัยได้แก่ ความวิตกกังวลในการพูดและความกลัวต่อการได้รับการประเมินในเชิงลบ และทัศนคติในเชิงลบต่อห้องเรียนภาษาอังกฤษ แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในอีก 3 ปัจจัยได้แก่ ความไม่สบายใจขณะพูดคุยกับเจ้าของภาษา การประเมินตนเองในเชิงลบ และ ความกลัวต่อความล้มเหลวในชั้นเรียน
อีกทั้งผลการสัมภาษณ์เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของนิสิตทั้งสองกลุ่มยังมีความคล้ายคลึงกันในบางปัจจัย แต่ก็มีบางปัจจัยที่มีความแตกต่าง หรือเป็นปัจจัยที่ปรากฏอย่างเฉพาะเจาะจงในกลุ่มตัวอย่างกลุ่มนั้น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความคาดหวังทางสังคมที่มีต่อสาขาวิชาที่นิสิตเรียน
References
2. Barley, M. (2011). “An exploration of speaking-in-class anxiety with Chinese ESL learners,” Procedia - Social and Behavioral Sciences. 39(2) : 201-214.
3. Daubney, M. (2005). “Language anxiety: Creative or negative force in the language classroom?” [Online]. Available: http://www.hltmag.co.uk/sep07/sart03.htm#C8.html Retrieved November 21, 2017.
4. Horwitz, E.J., Horwitz, M. B., & Cope, J. (1986). “Foreign language classroom anxiety,” The Modern Language Journal. 70(2): 125-132.
5. Jindathai, S. (2015). Factors affecting English speaking problems among Engineering students at Thai-Nichi institute of technology. The 3rd National Interdisciplinary Academic Conference (TNIAC 2015). (pp. 344-348). Thai-Nichi Institute of Tecnology, Bangkok.
6. MacIntyre, P. D. (2010). “How does anxiety affect second language learning? A reply to Sparks and Ganschow,” The Modern Language Journal. 79(1): 90-99.
7. Mandl, J. (2016). “Why are all programming languages in English?” [Online]. Available: https://www.linkedin.com/pulse/why-all-programming-languages-english-jenny-mandl.html. Retrieved November 21, 2017.
8. Oda, A. H. (2011). “The effect of anxiety on learning English as a foreign language,” Journal of the College of Arts. 58: 1-24.
9. Riemer, M. J. (2002). “English and communication skills for the global engineer,” Global J. of Engng. Educ. 6(1): 91-100.
10. Sailaja, Ch. S. (2015). “A study of anxiety of Engineering students towards English language,” European Journal of English Language Teaching. 1(1) : 1-13.
11. Toth, Z. (2008). “Foreign language anxiety – for beginners only?,” WoPaLP. Vol.2: 55-70.
12. Toth, Z. (2011). “Foreign language anxiety and advanced efl learners: an interview study,” WoPaLP. Vol.5: 39-57.
13. Xu, W. (2012). An investigation of factors contributing to speaking-in-class anxiety perceived by English Majors at Naresuan University. Master of Arts Thesis, Naresuan University, Phitsanulok, Thailand.
14. Zare, P., & Riasati, M. J. (2012). “The relationship between language learning anxiety, self-esteem, and academic level among Iranian EFL learners,” Pertanika J. Soc. Sci. & Hum. 20(1): 219 – 225.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง