ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, สุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษา ศึกษาปัจจัย ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพนักศึกษา และเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ตัวแปรภายนอก ประกอบด้วย ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านสื่อ ตัวแปรภายใน ประกอบด้วย ปัจจัยทางจิตใจ ปัจจัยทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ชั้นปีที่ 1 – 4 จำนวน 600 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ การวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้โปรแกรมลิสเรล
สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
- พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่ามีความคิดเห็นที่มีต่อสภาพความเป็นจริงอยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยคือ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้าน การตรวจรักษาสุขภาพ ด้านการออกกำลังกาย ด้านการพักผ่อน ด้านการจัดการความเครียด และด้าน การบริโภคอาหารและยา ตามลำดับ
- ผลการวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ ( = 37.19, df = 66) ซึ่งมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.56 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (Goodness of Fit Index : GFI = 0.99) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนปรับแก้ (Adjustd Goodness of Fit Index : AGFI = 0.98) รวมทั้งดัชนีรากฐานของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือ (Root Mean Squared Residual : RMR = 0.016) กราฟ Q-Plot ชันกว่าเส้นทแยงมุม แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเมื่อพิจารณาค่าอิทธิพลของตัวแปรในโมเดล ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์หรือ R SQUARE ตัวแปรพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงรายมีค่าเท่ากับ 0.81 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลทั้ง 4 ตัวแปร ประกอบด้วย ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางจิตใจ ปัจจัยด้านสื่อ และปัจจัยทางสังคม อธิบายความแปรปรวนในตัวแปรพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงรายได้ร้อยละ 81
- ตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฎเชียงราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (ENVIRONMENT)
- ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (ENVIRONMENT)
ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย พบว่า ปัจจัยทางสังคม (SOCIAL) และปัจจัยด้านสื่อ (MEDIA) ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
References
2. แจ่มจันทร์ พลมหาราช. (2537). การดูแลตนเองของผู้นำนักเรียนฝ่ายส่งเสริมอนามัย สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดมุกดาหาร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
3. ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2533). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภณการพิมพ์.
4. นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. ลักขณา เติมศิริกุลชัย และคณะ. (2541). โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
6. หวานใจ ขาวพัฒนวรรณ. (2543). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
7. Atkin, Charles K. (1973). Anticipated communication and mass media information seeking public opinion quarterly. New York: Free Press.
8. Hair, J. F. Black, W. C. Babin, B.J. Anderson, R. E. & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th ed. New Jersey: Pearson Education.
9. Pender, N.J. Murdaugh, C.L. and Parson, M.A. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. (4th ed). Upper Saddle River: N.J. Prentia Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง