การมีส่วนร่วมของประชาชนและส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการดำเนินงาน ของหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • พัฒน์นรี อุดทาคำ
  • ธนกร สิริสุคันธา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ส่วนประสมทางการตลาด, การดำเนินงาน, หมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วม ส่วนประสมทางการตลาดและการดำเนินงานของหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิกอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง (2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการดำเนินงานของหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิกอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอเกาะคา รวมทั้งผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาเทศบาลตำบลท่าผา หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง กรรมการและผู้ประกอบการเซรามิกในเขตหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิกอำเภอเกาะคา จำนวน 390 คน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม ใช้สถิติพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์สถิติอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธี Enter

          ผลการวิจัยพบว่าการมีส่วนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ระดับส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก ระดับการดำเนินงานในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับน้อย ส่วนการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า การมีส่วนร่วมส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการดำเนินงานมากที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย 0.702 รองลงมาคือ ด้านส่วนประสมทางการตลาดส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการดำเนินงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย 0.344 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2550). การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

2. จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์. (2558). แนวทางในการพัฒนาการให้บริการ M-Commerce ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ: สาขาการจัดการสำหรับการเป็น ผู้ประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

3. เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2527). การระดมประชาชนเพื่อการพัฒนาชนบทในการบริหารงานพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

4. ชฎาพร ไชยศรี. (2552). กลยุทธ์การพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน แม่บ้านเกษตรกรบ้านผาฆ้อง ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. เลย: สาขาวิชาการจัดการและการประเมินโครงการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

5. เทศบาลตำบลท่าผา. (2560). รายงานประจำปี พ.ศ.2559. ลำปาง: เทศบาลตำบลท่าผา.

6. ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2555). เอกสารคำสอนการพัฒนาเศรษฐกิจและชุมชน. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

7. ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร, 34(1), 177-191.

8. นันทนา ไชยบุดดี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับความสำเร็จในการ ดำเนินกิจการของธุรกิจชุมชนประเภทผ้าเครื่องแต่งกายในอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

9. วรรณ์นงอร วริศนิรันตรกูล. (2554). การบริหารจัดการสินค้า OTOP กลุ่มผ้าทอพื้นเมือง ระดับ 5 ดาว โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

10. วรัญญา แสนทอน. (2560). สัมภาษณ์การมีส่วนร่วมและบทบาทของเทศบาลต่อหมู่บ้านท่องเที่ยวเซรามิก. ลำปาง: เทศบาลตำบลท่าผา.

11. เสริมศรี สุทธิสงค์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการวิสาหกิจชุมชนกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(25), 95-106.

12. ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.

13. ศุภลักษณ์ ชูสุวรรณ. (2556). กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดและการจัดการเชิงรุกในการ ยกระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

14. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). บทวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ. ปีที่ 27 ฉบับที่ 2828, [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/36180.aspx สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560.

15. อานิสงค์ โอทาตะวงศ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทะเลบัวแดง ในส่วนเขตเทศบาลตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ สค.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

16. Brennan, R. L.(1972).“A Generalized Upper - Lower Discrimination Index,” Educational and Psychological Measurement. Summer. New York: SAGE.

17. Juliette and Jeff. (2005). Employee Participation and Company Performance: A Review of The Literature. New York: Joseph Rowntree.

18. Likert, R. (1970). A Technique for The Measurement of Attitude. In G.F. Summer (Ed).Attitudes Measurement. NewYork: RandMcnally.

19. Nunnally, J. C. (1978). Psychometric : Theory (2 nded). New York: McGraw - Hill. organizations. Journal of Marketing Research, 29 (3), 314-328.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-12-2018