การวิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ของนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยนเรศวร
คำสำคัญ:
ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ, ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์, การวิเคราะห์ความต้องการบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) ความถี่ 2) ความคิดเห็นที่มีต่อความสำคัญ 3) ประสิทธิภาพ 4) ความต้องการในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะทางการแพทย์ และ 5) แนวทางในการปรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะทางการแพทย์ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2558 จำนวน 33 คน และบัณฑิตแพทย์จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1) นักศึกษาแพทย์และบัณฑิตแพทย์ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ในการศึกษาหนังสือเรียนหรือบทความเป็นภาษาอังกฤษมากที่สุด
2) ให้ความสำคัญในเรื่องภาษาอังกฤษมีความสำคัญต่อการศึกษาทางการแพทย์ในปัจจุบันมากที่สุด
3) นักศึกษาแพทย์สามารถใช้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในขณะที่นักศึกษาแพทย์ยังขาดทักษะการเขียนและการพูดภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพ
4) มีความต้องการให้กิจกรรมการพูดเป็นแบบกลุ่มเล็ก มีการฝึกฟังจากวิดีโอหรือเทปการสนทนา และต้องการเรียนเกี่ยวกับคำศัพท์และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
5) มีข้อเสนอแนะให้จัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในทุกชั้นปีแบบกลุ่มเล็ก เพื่อได้รับความรู้อย่างทั่วถึง และควรมุ่งเน้นให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการเรียนให้มากขึ้น
References
ณัฏฐ์นรี ฤทธิรัตน์ และธัญภา ชิระมณี. (2557). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย. Graduate Research Conference. 1(1), 2839-2848.
ธิดารัตน์ เหลืองไตรรัตน์. (2554). การใช้ภาพยนตร์ประกอบตัวอักษรบรรยายเพื่อเปรียบเทียบการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและความสามารถด้านการฟังเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2. งานวิจัยกลุ่มการเรียนการสอน. วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่. เชียงใหม่.
บุษบามินตรา ฉลวยแสง. (2558). การวิเคราะห์ปัญหาและพฤติกรรมของแพทย์ประจำบ้านในการเข้าใจแยกแยะและบ่งบอกประโยคความซ้อนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจบทความภาษาอังกฤษในวารสารการแพทย์. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4(2), 192-217.
มนัสวี ดวงลอย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 3(1), 154-167.
สุทธานันท์ กัลกะ และขวัญตา ภูริวิทยาธีระ. (2559). การพัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษในนักศึกษาพยาบาล. Rama Nurs J. 22(2), 123-133.
อานนท์ ไชยสุริยา. (2552). การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนวิชา 222102 (English II) ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ตามขนาดของกลุ่มเรียน. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพ.
อิสฬิยาภรณ์ วรกิตตนนท์ และสุมิตรา สุรรัตน์เดชา. (2558). การศึกษาความต้องการจำเป็นของการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ เพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของนักศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(1), 138-16.
Alqurashi, F. (2016). English for medical purposes for Saudi Medical and Health Professionals. Advances in Language and Literary Studies. 7(6), 243-252.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed). New York: Harper & Row.
Crystal, D. (2003). English as a global language. (2nd ed). Cambridge: Cambridge University Press.
Hwang, Y. and Lin, S. (2010). A Study of Medical Students’ Linguistic Needs in Taiwan. The Asian ESP Journal. 6(1), 35-58.
Hull, M. (October 16-19, 2004). Changing the paradigm for medical English language teaching. Paper presented at the 2004 International Symposium of English for Medical Purposes, Xi'an, China.
Hull, M. (July 18 – 19, 2006). Whose needs are we serving?. Paper presented at the 2006 International Symposium on English for Medical Purposes, Beijing, China.
Hutchinson, T. and Waters, A. (1987). English for specific purposes: A learner-centered approach. Cambridge: Cambridge University Press.
Hutchinson, T. and Waters, A. (1994). English for specific purposes: A learning-centred approach. New York: Cambridge University Press.
Jenkins, J. (2004). ELF at the gate: The position of English as a lingua franca. European Messenger. 13(2), 63-68.
Kemp, J. E., Morisson, G. R. and Ross, S. M. (1994). Designing Effective Instruction. New York: Macmillan College Publishing Company.
Kurfürst, P. (September 10, 2006). English? Sure, but how? Paper presented at International Conference on Lingua Summit. Trencín, Slovakia.
Naerssen, M. M. (1978). ESL in medicine: A matter of life and death. TESOL
Quarterly, 12(2), 193-203.
Seidlhofer, B. (2005). English as a lingua franca. ELT Journal. 59(4), 339-341.
Strevens, P. (1988). ESP after twenty years: a re-appraisal. Singapore: SEAMEO Regional Language Center.
Yang, H. Y. (2006). A needs analysis of English: Perceptions of faculty and doctoral students. Unpublished master’s thesis, National Chiao Tung University, Hsinchu.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง