การพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตพยาบาล “การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์”

ผู้แต่ง

  • นิจวรรณ วีรวัฒโนดม
  • บังอร ศิริสกุลไพศาล
  • พรฤดี นิธิรัตน์
  • ทิพวรรณ ตั้งวงศ์กิจ
  • สุวัฒนา เกิดม่วง Boromrajonani College of Nursing, Chainat

คำสำคัญ:

การพัฒนาอัตลักษณ์, อัตลักษณ์บัณฑิตพยาบาล, การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

บทคัดย่อ

     การศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นการศึกษาระดับสำคัญเป็นการเตรียมบุคคลเข้าสู่อาชีพ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต การจัดการศึกษาในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข เป็นการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีเป้าหมายเพื่อผลิตบัณฑิตพยาบาลออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติ ได้กำหนดอัตลักษณ์บัณฑิตพยาบาลคือ “การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” การผลิตบัณฑิตให้มีอัตลักษณ์จะเกิดขึ้นระหว่างการศึกษาพยาบาลด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี มีแนวทางในการพัฒนาอัตลักษณ์บัณฑิตพยาบาล “การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” ดังนี้ 1) หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน วัตถุประสงค์ที่สำคัญของหลักสูตร คือ การปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ใช้บริการทุกช่วงวัย ทุกภาวะสุขภาพ ทุกระดับของสถานบริการสุขภาพแบบองค์รวมบนพื้นฐานของ ความเอื้ออาทรด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ การจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาตามหลักสูตร พัฒนาตามฐานชั้นปีโดยยึดหลัก “รู้จัก เข้าใจ นำไปใช้ เผยแพร่” ในการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 2) กิจกรรมพัฒนานักศึกษา พัฒนานักศึกษาตามฐานชั้นปีโดยยึดหลัก “รู้จัก เข้าใจ นำไปใช้ เผยแพร่” ในการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ผ่านโครงการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและเป็นบัณฑิตพยาบาลบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ด้วยกิจกรรมออกค่ายอาสา กิจกรรมจิตปัญญา และกิจกรรมตลาดนัดความดี

References

กิตติพร เนาว์สุวรรณ และวิทวัส ดิษยศริน สัตยารักษ์. (2559). องค์ประกอบอัตลักษณ์ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. วารสาร มฉก. วิชาการ, 19 (38), 77-92.

จีรวัฒน์ วีรังกร. (2562). กรอบความคิดพัฒนานักศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://larts.rmutp.ac.th/pdf/km5210.pdf สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2562.

ฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน และพนมพร จันทรปัญญา. (2558). การสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(2), 267-280.

ปานทิพย์ ปูรณานนท์. (2557). สภาพการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาล มีความสามารถในการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(1), , 30-44.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมี บุคส์พับลิเคชันส์.

_______. (2555) พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี. (2555). มคอ. 2 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555). นนทบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี.

_______. (2561). มคอ. 2 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561). นนทบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี.

_______. (2560). แผนกลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอน. นนทบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี.

_______. (2560). แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี.

สถาบันพระบรมราชนก. (2554). คู่มือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอัตลักษณ์บัณฑิตสถาบันพระบรมราชนก. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

สุพักตร์ พิบูลย์. (2551). ชุดเสริมทักษะการประเมินโครงการ. นนทบุรี: จตุพร ดีไซน์.

สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์ พิมพิมล วงศ์ไชยา สิริสุดา เตชะวิเศษ และสมศรี สัจจะสกุลรัตน์. (2558). อัตลักษณ์บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา, วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 14-26.

อรนันท์ หาญยุทธ รัชยา รัตนะถาวร. (2556). คุณภาพและอัตลักษณ์ของบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2553, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 7(2), 99-107.

ฤดี นิยมรัตน์. (2554). รายงานการวิจัยเรื่อง อัตลักษณ์ลวดลายเบญจรงค์ไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. 4.

Ghadrian, F., Salsali, M., and Cheraghi, A. (2014). Nursing professionalism an evolutionary concept analysis. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research, 19 (1), 1- 10.

Lairio, M., Puukari, S. and Kouvo, A. (2013). Studying at university as part of student life and identity construction. Scandinavian Journal of Education Research, 57(2), 115-131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-09-2019