กระบวนการพัฒนาครูแบบหนุนนำต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล
  • ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก
  • ดวงใจ พุทธวงศ์

คำสำคัญ:

กระบวนการพัฒนาครูแบบหนุนนำต่อเนื่อง, ทักษะแห่งศตวรรษที่21, ยุทธศาสตร์การเรียนรู้, ชุมชนนักปฏิบัติมืออาชีพ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของกระบวนการพัฒนาครูแบบ หนุนนำต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในจังหวัดลำปาง  กลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียน20โรงเรียน ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ  ใช้เครื่องมือการจัดการความรู้เป็นฐานในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัยมีดังนี้1) กระบวนการพัฒนาครูแบบหนุนนำต่อเนื่อง ประกอบด้วยกระบวนการสำคัญคือการเตรียมการด้านบทบาทโค้ช บทบาทบุคลากรทุกฝ่าย การสร้างความเข้าใจกระบวนการพัฒนาครู การหนุนนำต่อเนื่องระหว่างการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ครูโค้ชครูแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กิจกรรมสำคัญคือ การเล่าเรื่อง การสะท้อนคิด และการบันทึก 2) ผลของกระบวนการพัฒนาครูแบบหนุนนำต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 พบว่า ผลการโค้ชทำให้ครูพัฒนาตนเอง และพัฒนาชุมชนวิชาชีพแห่งการเรียนรู้ โดยใช้คุณสมบัติและความสามารถตามหน้าที่ ผู้บริหารโรงเรียนจัดการปัจจัยสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา ด้านเวลา และด้านโจทย์การทำงานที่เอื้ออำนวย ผู้บริหารการศึกษา นักวิชาการพัฒนากลไก แนวคิดและสมรรถนะในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาครู และนักเรียนพัฒนาการทำงานแบบร่วมมือร่วมใจ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการสื่อสาร

References

เจือจันทร์ จงสถิตอยู่. (2558). รายงานการสังเคราะห์ผลการดำเนินการชุดโครงการวิจัย กระบวนการพัฒนาครูด้วยระบบหนุนนำต่อเนื่อง (Teacher Coaching). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

_______. [ม.ป.ป.]. โค้ชครูสู่ผู้เรียน (Teacher Coaching) บทเรียนจากโครงการวิจัยกระบวนการพัฒนาครูด้วยระบบหนุนนำต่อเนื่อง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

เจือจันทร์ จงสถิตอยู่ และอรุณศรี จิตต์แจ้ง (2556). พลังเครือข่ายในพื้นที่. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ทัศนีย์ จารุสมบัติ. (2556). บนเส้นทางสู่การเป็นโค้ชเพื่อการเปลี่ยนแปลง. นครปฐม: ภูสายแดด.

ปิยะฉัตร จิตต์ธรรม และ คณะ. (2558). โครงการวิจัยและพัฒนาครูในจังหวัดสมุทรสาครด้วยระบบหนุนนำต่อเนื่องเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ที่ส่งเสริมองค์ความรู้และทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ปริวิทย์ ไวทยาชีวะ และ ทิพย์รัตน์ นพฤทธิ์. (2559). สัมพันธภาพระหว่างบุคคลของอาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์ใหม่: ชุมชนแห่งการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 5(1), 107 – 117.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2562). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง กับPLCเพื่อการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรขา อรัญวงศ์ และคณะ. (2558). โครงการวิจัยกระบวนการพัฒนาครูด้วยระบบหนุนนำต่อเนื่องเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนจังหวัดกำแพงเพชร.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ และ คงวุฒิ นิรันตสุข. (2561). เพาะพันธุ์ปัญญาด้วย PLC. สงขลา: นำศิลป์ โฆษณา จำกัด.

Duangchan Diowvilai, Vilailuk Janwong, Fisik Sean Buakanok, Duangjai Budhawong, & Dusdee Seetalavarang. (2015). Instructional Management Based on Project Learning through Zero Waste Integrated Units. Proceedings of the 2nd International Conference on Innovation in Education. March 16-18,2015. Thailand: Institute for Innovative Learning, Mahidol University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2019