การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 โดยใช้การสอนแบบ e-learning

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ จิ๋วจู

คำสำคัญ:

อีเลิร์นนิ่ง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียนออนไลน์, การบัญชีต้นทุน 1

บทคัดย่อ

     การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 โดยการสอนแบบ e-learning มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 โดยการสอนแบบ e-learning  และ  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการจัดการเรียนการสอนแบบ e-learning กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษา 23 คน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด
ที่ลงทะเบียนเรียนบทเรียน e-learning รายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 ในปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียน e-learning แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบประเมินค่าประสิทธิภาพการเรียน และแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่า คะแนนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน 86.30/41.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 85.83/86.30 และความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการจัดการเรียนการสอน แบบ e-learning  อยู่ในระดับมาก

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2557). นวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคนิคการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จิตราภา กุณฑลบุตร. (2550). การวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2560). การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพย์วรรณ ศิบุญนันท์. (2562). การพัฒนาบทเรียน e-Learning รายวิชาการบัญชี 1. วารสารสักทอง:วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 25( 3); 68-75.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

ปราณี หลำเพ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพเครื่องมือวัดและประเมินผล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://edu.yru.ac.th/evaluate/attach/1465551003_%.pdf สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาสกร เรืองรอง. (2558). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พรทิชา.

ศรีกัญภัสสร์ รังสีบวรกุล ปิยาภรณ์ กังสดาร และวรรณิษา หาคูณ. (2555). ธรรมชาติการเรียนรู้.นนทบุรี: บริษัทวิชั่น พรีเพรส จำกัด.

สุมาลี ชัยเจริญ.(2551). เทคโนโลยีการศึกษา หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

John W. Best, (1981). Research in Education, 4 th ed. New Jersey: Prentice – Hall Inc.,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2019