ผลกระทบของการควบคุมภายในด้านการบัญชีที่ดีที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
การควบคุมภายในด้านการบัญชีที่ดี, ความสำเร็จในการดำเนินงานทางการเงิน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการควบคุมภายในด้านการบัญชีที่ดีที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 170 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม
มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลัง มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีการควบคุมภายในด้านการบัญชีที่ดีโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านกิจกรรมการควบคุม ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการติดตามประเมินผล และผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลัง มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับความสำเร็จในการดำเนินงานทางการเงินโดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้านรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้การควบคุมภายในด้านการบัญชีที่ดี ด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม ด้านประเมินความเสี่ยง และด้านกิจกรรมการควบคุม
มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการดำเนินงานทางการเงินโดยรวม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.846 ร่วมกันพยากรณ์ความสำเร็จในการดำเนินงานทางการเงินได้ร้อยละ 71.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภูต้องให้ความสำคัญกับระบบการควบคุมภายใน เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดทำรายงานทางการเงิน
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.dla.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560.
จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. (2557). การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เจนเนตร มณีนาค. (2548). การบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กร. กรุงเทพฯ : ซัม ซิสเท็ม.
ณฐพร พันธุ์อุดมและคณะ. (2549). แนวทางการจัดระบบการควบคุมภายในที่ดี. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับบลิชชิ่ง.
ถาวร พรามไทย. (2558). ผลกระทบของการติดตามประเมินผลการควบคุมภายในที่มีต่อคุณภาพข้อมูลทางบัญชีของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ บช.ม. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนัชชา โยธาทัย. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการควบคุมภายในกับผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ บช.ม. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บังอร พันธ์โสภา. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมภายในกับการบรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ บช.ม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เปรมยุดา ท้าวบุตร. (2560). ผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานทางการเงินที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานทางการเงินของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บช.ม. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริพร พึ่งพรพรหม. (2557). ผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่มีต่อประสิทธิภาพองค์กรของธุรกิจส่งออกข้าวหอมมะลิในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บช.ม. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Aaker, D. A., V. Kumar and G. S. Day. (2001). Marketing Research. 7 th ed. New York : John Wiley and Sons.
Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making (4th ed.). USA: John Wiley & Sons.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. 2 nd ed. New York : McGraw – Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง