กระบวนการถ่ายทอดเครื่องดนตรีพื้นบ้านซึง 6 สาย ของครูศรชัย เต็งรัตน์ล้อม
คำสำคัญ:
กระบวนการถ่ายทอด, ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ, ซึง 6 สายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอด
เครื่องดนตรีพื้นบ้านซึง 6 สาย ของครูศรชัย เต็งรัตน์ล้อม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยการสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้รู้ คือกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกในด้านต่างๆ และกลุ่มผู้ปฏิบัติ ที่ได้รับการถ่ายทอดการบรรเลงซึง 6 สาย โดยตรงจากครูศรชัย เต็งรัตน์ล้อม จำนวน 11 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า ครูศรชัย เต็งรัตน์ล้อม เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในดนตรีพื้นบ้าน
จึงได้นำองค์ความรู้ที่มีนั้น นำมาถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์ ด้วยวิธีการสอนแบบปากต่อปาก การต่อมือ หรือเรียกอีกอย่างว่าการสอนแบบมุขปาฐะ โดยแบ่งกลุ่มลูกศิษย์ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มที่ไม่มีพื้นฐานดนตรีพื้นบ้าน และ 2) กลุ่มที่มีพื้นฐานดนตรีพื้นบ้าน เพื่อให้เหมาะสมและง่ายต่อการถ่ายทอด อีกทั้งท่านเป็นครูดนตรีพื้นบ้านที่มีความคิดทันสมัย จึงได้ทำการบันทึกโน้ตเพลงต่างๆ ไว้เป็น
ลายลักษณ์อักษร เพื่อให้บุคคลที่สนใจ ง่ายต่อการศึกษาค้นคว้าความเป็นมา เพื่อเป็นการรักษา
สืบสาน และอนุรักษ์ภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นสืบไป
References
สุกัญญา สุจฉายา. (2545). เพลงพื้นบ้านศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์คติชนวิทยา และภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดิศร สวยฉลาด. (2559).วิธีการบรรเลงสะล้อสามสายของ ผศ.ศรชัย เต็งรัตน์ล้อม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทัย ศาสตรา (2553). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูประสิทธิ์ ถาวรศิลปินแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรชัย เต็งรัตน์ล้อม. (สัมภาษณ์, 4 ตุลาคม 2558).
อดิสร สวยฉลาด. (สัมภาษณ์, 12 มกราคม 2559).
ปราการ ใจดี. (สัมภาษณ์, 10 ธันวาคม 2558).
นิพนธ์ เรือนสุข. (สัมภาษณ์, 12 มกราคม 2559).
ชัยวัฒน์ สมมะโน. (สัมภาษณ์, 15 มกราคม 2559).
เสกศักดิ์ อินปัญญา. (สัมภาษณ์, 15 มกราคม 2559).
เอกวุฒิ รังสีโสภณอาภรณ์. (สัมภาษณ์, 20 มกราคม 2559).
เอกศักดิ์ ใจหล้า.(สัมภาษณ์, 25 มกราคม 2559).
นนท์ ตาคำ. (สัมภาษณ์, 25 มกราคม 2559).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง