การศึกษาสัญญาณเตือนการทุจริต : กรณีศึกษาสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 1
คำสำคัญ:
สัญญาณเตือนการทุจริต, การตรวจสอบการทุจริต, สหกรณ์การเกษตรบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญของสัญญาณเตือนการทุจริต กรณีศึกษาสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 1 และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยในการเกิดทุจริตของสหกรณ์การเกษตร โดยอ้างอิงจากทฤษฎีสามเหลี่ยมทุจริต โดยผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) เครื่องมือที่ใช้การศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เชิงปริมาณรวมรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด ได้แก่ ผู้สอบบัญชีและผู้ช่วยผู้สอบบัญชีสหกรณ์การเกษตรที่เป็นข้าราชการในเขตพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 1 จำนวน 67 คน เชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 1 ที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จำนวน 9 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญของสัญญาณเตือนการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรในระดับมาก ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างการบริหารงานและสภาพแวดล้อมของสหกรณ์การเกษตร และ 2) ด้านกิจกรรมดำเนินงานและขั้นตอนการควบคุมภายในของสหกรณ์ จากการสัมภาษณ์กล่าวถึงเหตุการณ์หรือพฤติกรรมอันเป็นสัญญาณเตือนการทุจริตที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) สภาพแวดล้อมและโครงสร้างการควบคุมภายในของสหกรณ์ที่ไม่ดีเพียงพอ และโครงสร้างการบริหารงานโดยเครือญาติ หรือสามี ภรรยา 2) พฤติกรรมส่วนบุคคลของบุคลากรในสหกรณ์ เช่น ความไม่ซื่อสัตย์สุจริต การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การเล่นการพนัน การทำงานนอกเวลาทำการ และ 3) สัญญาณเตือนการทุจริตเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี เช่น การมีข้อผิดพลาดบ่อยครั้ง หรือเจตนาให้มีการจัดเตรียมข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์โดยไม่มีข้อผิดพลาดเลยแม้แต่เล็กน้อยเพื่อปกปิดความผิด เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยในการเกิดทุจริตของสหกรณ์การเกษตร โดยอ้างอิงจากทฤษฎีสามเหลี่ยมการทุจริต พบว่าการทุจริตในสหกรณ์การเกษตรมีสาเหตุเกิดจากโอกาสที่เปิดกว้าง และแรงจูงใจหรือแรงกดดันส่วนบุคคล
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2560). หนังสือกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ที่ กษ 0404/ว85 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2560 เรื่องแนวปฏิบัติในการรายงานข้อสังเกตที่ตรวจพบ. กรุงเทพฯ: กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
กรมส่งเสริมสหกรณ์. สถิติสหกรณ์. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://office.cpd.go.th/itc/index.php/79-2017-04-11-04-36-20/637-defects-61 สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2562.
______. สถิติสหกรณ์. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.cpd.go.th/cpdth2560/index.php/information-cpd/info-data-cpdสืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563.
โฆสิทธิ์ แสงกุศลส่ง และคณะ. (2552). ข้อเสนอการเสริมสร้างจริยธรรมของนักการเมือง เพื่อการป้องกันการ ทุจริตในประเทศไทย. เอกสารวิชาการ, หลักสูตรนักบริหารเชิงยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปราม การทุจริตระดับกลาง รุ่นที่ 1, สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
ชาย โพธิสิตา. (2549). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งฯ.
ดรุณ หาญตระกูล. (2541). วิจัยการศึกษา. ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2557). กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.set.or.th/th/about/overview/files/Risk_2015_v2.pdf. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563.
ทิวาพร พฤทธิประเสริฐ. (2558). คุณลักษณะของคณะกรรมการและการเข้าร่วมการต่อต้านการทุจริตในองค์กร ต่อผลการดำเนินงานของบริษัท กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET 100. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไทยรัฐออนไลน์. (13 เมษายน 2558). เปิดบทเรียนฉาว “เครดิต ยูเนี่ยน คลองจั่น” ถึงเวลายกเครื่องสหกรณ์ไทย. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/492634. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2562.
ปิยาภิศักดิ์ เจียรสุคนธ์ และสุรีย์ โบษกรนัฏ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงด้านบุคคล ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบกับความเสี่ยงรายงานทางการเงิน: กรณีศึกษาจากผู้ตรวจสอบภาครัฐ. วารสารวิทยาการจัดการ. 36(1), 30-57
ราตรี กระจงกลาง. (2557). ความรู้ความเข้าใจการควบคุมภายในด้านการเงินและบัญชีกับการปฏิบัติงาน ของนักบริหารงานคลังในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ. 3(2), 77-88
รุจิพัชร์ กิตติวิวัฒนพงศ์ และกนกรัตน์ ยศไกร. (2559). ความย้อนแย้งของสหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่นในประเทศไทยกับปัญหาคอร์รัปชัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 6(1), 235-248
วิชา มหาคุณ. (2551). ทุจริตคอร์รับชั่น: กับดักของความไม่เท่าเทียมกัน. วารสารวิชาการ ป.ป.ช.. 6(1), 1-8
สถาพร หลาวทอง. (2556). 3 มิติแห่งการขับเคลื่อนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ในบทบาทของคณะกรรมการ ป.ป.ช. วารสารวิชาการ ป.ป.ช., 6(1), 1-8
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การจัดการองค์ความรู้. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://km.cpd.go.th/pdf-bin/pdf_6910195393.pdf. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2563.
อัมไพวรรณ หมื่นแสน. (2561). ความเสี่ยงในการสอบบัญชี กรณีศึกษา ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Heiman, H., Vicky, B., Morgan, Kimberly, P., Patton and James, M. (1996). The Warning Signs of Fraudulent Financial Reporting. Academic Journal Article Journal of Accountancy. 182(4)
Malcolm, S. (2005). Auditors’ perception of fraud risk indicators. Managerial Auditing Journal. 20(1), 73-85
Malcolm.S, Normah.H.O, Syed.I.Z.H.I and Ithnahaini.B. (2005). Auditors' perception of fraud risk indicators. Managerial Auditing Journal. 20(1), 73-85.
Yung-I Lou and Ming-Long Wang. (2009). Fraud Risk Factor of the Fraud Triangle Assessing the Likelihood of Fraudulent Financial Reporting. Journal of Business & Economics Research, 7(2), 61-78
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง