ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนพหุวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • สุมนา พรรษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กิตติศักดิ์ นิวรัตน์
  • ปรมินทร์ อริเดช

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ, ประสิทธิภาพการสอน, โรงเรียนพหุวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสาเหตุกับประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนพหุวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนพหุวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลรวมทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนพหุวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครูในจังหวัดเชียงราย ที่สอนในโรงเรียนพหุวัฒนธรรม ปีการศึกษา 2562 ในเขตอำเภอแม่สาย อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอเชียงแสน อำเภอเทิง อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงแก่น จำนวน 360 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนพหุวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคลิกภาพของครู ความสามารถทางวิชาการ ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานมนุษยสัมพันธ์ของครู บรรยากาศการเรียนการสอนในโรงเรียนพหุวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า

  1. ตัวแปรสาเหตุทั้ง 5 ปัจจัยมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยบรรยากาศการเรียนการสอนในโรงเรียนพหุวัฒนธรรมมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มากที่สุดเท่ากับ 0.725 และขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์น้อยที่สุดเท่ากับ 0.550
  2. โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ ( ) มีค่าเท่ากับ 12.09 ค่าความน่าจะเป็น (p) มีค่าเท่ากับ 0.99850 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) มีค่าเท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.98 ดัชนีรากของกำลังสองนัยสำคัญทางเฉลี่ยของเศษที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.0010 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.05 ค่าส่วนเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardize Residual) มีค่าเท่ากับ 1.82 รวมทั้งกราฟคิวพล็อต (Q-Plot) มีความชันกว่าเส้นทแยงมุม ซึ่งโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยที่ส่งผล ต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนพหุวัฒนธรรม ได้ร้อยละ 81
  3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมและอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนพหุวัฒนธรรม คือ ปัจจัยมนุษยสัมพันธ์ของครู และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนพหุวัฒนธรรม คือ บุคลิกภาพของครู

References

ขวัญสุดา วงษ์แหยม. (2559). การบริหารจัดการการศึกษาของสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในชุมชนพหุวัฒนธรรมของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์การศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

คชาภรณ์ จะแรบรัมย์.(2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

จินตนา เสนคำ. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูใน โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ดลนภา กลางมณี. (2552). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.มหาสารคาม.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สาหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นพดล เสนขวา. (2552). โมเดลโครงสร้างปัจจัยเชิงเส้นความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการสอนของครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์.

นิเลาะ แวอุเซ็ง. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ปัตตานี: งานวิจัยกองทุนวิจัยวิทยาเขตปัตตานี ประจำปีงบประมาณ 2552 วิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

บัญญัติ ยงย่วน, ปนัดดา ธนเศรษฐกร และวสุนันท์ ชุ่มเชื้อ. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

ภัทราวรรณ ซาสันเทียะ. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารราชพฤกษ์. 15(2), 118-124.

รสสุคนธ์ เนาวบุตร. (2557). แนวทางการจัดการศึกษาเรียนร่วมพหุวัฒนธรรม:กรณีศึกษาชุมชนบ้านป่าละอู อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร.

ศุภชัย สว่างภพ. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย. (2562). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย. เชียงราย: สำนักงานฯ.

สุพิน บุญชูวงศ์. (2536). หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์วิทยาลัยครูสวนดุสิต.

สุภัทรา ภมร. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนภาษาอังกฤษของครูช่วงชั้นที่ 1 - 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. ราชบุรี.

อรวรรณ รุ่งวิสัย. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

อัญชลี หนูรักษ์. (2546). องค์ประกอบในการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานสามัญศึกษา จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2020