กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์การค้า ของผู้บริโภคกลุ่ม Generation Z ในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เก็จวลี ศรีจันทร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาตร์ มหาวิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
  • ชรัญญา สุวรรณเสรีรักษ์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด, ศูนย์การค้า, ผู้บริโภคกลุ่ม Generation Z

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการศูนย์การค้า ของผู้บริโภคกลุ่ม Generation Z ในจังหวัดเชียงใหม่ และ 2) ศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์การค้าของผู้บริโภคกลุ่ม Generation Z ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคกลุ่ม Generation Z ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมติฐาน ได้แก่ ไคสแควร์ และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

          ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้บริโภคกลุ่ม Generation Z ในจังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่เลือกใช้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลเชียงใหม่ เหตุผลเพราะความทันสมัยและความหลากหลายของสินค้าโดยใช้บริการศูนย์การค้าสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อซื้อสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่ใช้บริการศูนย์การค้าวันหยุดสุดสัปดาห์ (ส. – อา.) มีค่าใช้จ่าย 500 - 1,000 บาท และตัดสินใจเข้าใช้บริการศูนย์การค้าของกลุ่มผู้บริโภคกลุ่ม Generation Z ในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยตัวเอง

          ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์การค้าของผู้บริโภคกลุ่ม Generation Z ในจังหวัดเชียงใหม่

References

กมลวรรณ สุขสมัย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์การค้า. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ครองช่าง.

ค้าปลีกไทย. (2562). การตลาดค้าปลีก 2562 ยังไหวไหม, (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา https://marketeeronline.com เข้าดูเมื่อวันที่ 3/4/2563.

ณฐวัฒน์ คณารักสมบัติ และสุธาสินี เหลียวตระกูล. (2561). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบ Real Time Marketing ในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. ปีที่ 7 ฉบับที่1 หน้า 143-157.

ธนาการณ์ ดวงใจ. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าในศูนย์แฟชั่นค้าส่งเดอะแพลทินัม แฟชั่นมอล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น เอเชีย. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 หน้า 313-319.

ภักดี สูงใหญ่, ธีร์ธนิกษ์ ศิริโวหาร และวันทนีย์ ภูมิภัทราคม. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้าที่ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 หน้า 79-95.

วันรบ บุญธรรม. (2554). NewBiES 8 กลุ่มซื้อใหม่ พลิกโฉมหน้าการตลาดไทย. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุดใหม่ (ฉบับปรับปรุงปี 2546). กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัดกัด.

หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์. (2562). ค้าปลีกเชียงใหม่คึก, (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา https://www.posttoday.com เข้าดูเมื่อวันที่ 13/8/2562.

Kotler Philip. (2009). Marketing Management. Pearson Education: Prentice Hall.

Turner, A.R. (2015). Generation Z: Technology and Social Interest. The Journal of Individual Psychology, Volume 71, Number 2, Summer 2015.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021