การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักศึกษานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ผู้แต่ง

  • ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช Lampang Rajabhat University

คำสำคัญ:

การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล, การสื่อสารยุคดิจิทัล, องค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ และ 2) ระดับการรู้ทันสื่อดิจิทัลของนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง โดยแบ่งองค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) การเข้าถึงสื่อ (2) ความเข้าใจ การตีความ และการประเมินเนื้อหาของสื่อ (3) การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์และมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บแบบสอบถามจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยมีขนาดตัวอย่าง 78 คน ผนวกกับการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน

          ผลการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์การรู้ทันสื่อดิจิทัล พบว่านักศึกษาเข้าใจว่าการรู้เท่าทันสื่อคือความสามารถที่จะเข้าใจวิธีการทำงานของสื่อสารมวลชน รู้จักผลกระทบด้านบวกและด้านลบของสื่อ มีวิจารณญาณ รู้จักหลีกเลี่ยง ไม่ใช้สื่อในทางที่ผิด โดยสื่อที่นิยมใช้คือเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ต่าง ๆ มีลักษณะมีการใช้สื่อแบบเข้าไปศึกษา รับรู้ มีความสนใจเรื่องการเมืองแต่ไม่แสดงความคิดเห็นโดยภาพรวม นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มีระดับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลในระดับปานกลาง องค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อด้านที่รู้เท่าทันมากที่สุดคือ องค์ประกอบด้านการเข้าถึงสื่อ รองลงมาคือองค์ประกอบด้านความเข้าใจ การตีความ ประเมินเนื้อหาของสื่อ และองค์ประกอบด้านการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์และมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อตามลำดับ ส่วนลักษณะการใช้การสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัล พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีระดับความบ่อยครั้งในการใช้สื่อดิจิทัลในด้านลบอยู่ในระดับน้อย

          ผลการการสนทนากลุ่มสรุปว่านักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความหมายว่าการรู้เท่าทันสื่อ คือความสามารถที่จะเข้าใจวิธีการทำงานของสื่อสารมวลชน รู้จักผลกระทบด้านบวกและด้านลบของสื่อ มีวิจารณญาณ รู้จักหลีกเลี่ยง ไม่ใช้สื่อในทางที่ผิด แต่ยังไม่เข้าใจว่าการรู้เท่าทันสื่อมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

References

ชัยกฤต รัตนากร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองของนักเรียนโรงเรียนชลราษฎรอำรุงและโรงเรียนชลกันยานุกูล ในการเมืองแบบประชาธิปไตย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

พีระ จิรโสภณ และคณะ. (2559). ความรู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัลกับบทบาทในการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการสื่อสารในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ภัทร์ศินี แสนสำแดง. (2557). ทักษะการรู้เท่าทันสื่อมวลชนและสื่อสมัยใหม่ของวัยรุ่น ในจังหวัดสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 6(12), 47-58.

วัฒนา เซ่งไพเราะ. (2555). ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในสถาบันการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครกับการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ช่วงปี พ.ศ.2549-2554. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2013). Global media and information literacy assessment framework: Country readiness and competencies. [online], Available HTTP: http://www. unesco.org/ new/en/communication-and-information/resources/publications-and-communication-materials/publications/full-list/global-media-and-information-literacy-assessment-framework/ Retrieved access on September 2018

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021