การพัฒนาคุณภาพข้อมูล เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลลำปาง

ผู้แต่ง

  • โอภาส วงศ์ศิลป์

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพข้อมูล, คุณภาพข้อมูล, คุณภาพสารสนเทศ, คุณภาพโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพข้อมูลที่สำคัญ และศึกษาสถานการณ์ของข้อมูลและสารสนเทศของโรงพยาบาลลำปาง  โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติงานจริง ในระหว่างปีงบประมาณ 2559 ถึง 2561  ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล และแบบบันทึกข้อมูลการพัฒนาคุณภาพข้อมูลเป็นเครื่องมือในการศึกษา  สถิติในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ   ผลการศึกษา  พบว่า ก่อนและหลังการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูล(data cleansing)  ฐานข้อมูลที่สำคัญมีคุณภาพเฉลี่ยร้อยละ  98.20 และ 99.49 ตามลำดับ โดยประเด็นสำคัญที่ทำให้ข้อมูลมีคุณภาพต่ำ ได้แก่ ความไม่ครบถ้วนของข้อมูล  รองลงมาคือ ความซ้ำซ้อนของข้อมูล และความไม่ถูกต้องของข้อมูล    

          เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแต่ละฐานข้อมูล พบว่า  1) ฐานข้อมูลส่วนบุคคล  พบข้อมูลเลขบัตรประชาชนและสิทธิการรักษาไม่ครบถ้วน  อีกทั้งยังมีการบันทึกข้อมูลซ้ำหลายระเบียน  2) ฐานข้อมูลกิจกรรมการบริการ พบข้อมูลรหัสโรคไม่ถูกต้อง   3) ฐานข้อมูลทรัพยากร เป็นฐานข้อมูลที่ใช้ในการอ้างอิง   ยังขาดความถูกต้องของข้อมูลเตียง และขาดความครบถ้วนของข้อมูลแพทย์ที่ปฏิบัติงาน   4) ฐานข้อมูลทางคลินิก พบปัญหาคุณภาพข้อมูลในด้านความทันเวลาของข้อมูล  

          สำหรับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาคุณภาพข้อมูล 1) จัดทำระบบเตือน(message box)ในโปรแกรมที่ใช้งาน  2) จัดทำพจนานุกรมข้อมูล(data dictionary)   3) จัดให้มีระบบการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของฐานข้อมูล  4) จัดเก็บข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูลกลาง(database center)   5) สะท้อนกลับข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้อง 

References

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล (2546 ,267) คัมภีร์ระบบสารสนเทศ. กรุงเทพ. เคทีพี คอมพ์ แอนด์คอนซัลท์

พงษ์ศักดิ์ อัชชะกุลวิสุทธิ์. (2561). “คุณภาพของข้อมูล” กุญแจสู่ความสำเร็จของการวิเคราะห์ข้อมูล.สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2561, จาก https://www.efinancethai.com/MoneyStrategist/MoneyStrategistMain.aspx?id=bmkvZThFSzJIRFk9

พิทักษ์พงศ์ พายุหะ. (2561). การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. การศึกษาส่วนบุคคลหลักสูตรการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

วัลลภ สุวรรณคีรีและศิริพร อ่องรุ่งเรือง.(2558). การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในระบบสารสนเทศด้านการส่งกำลังบำรุงกองทัพอากาศด้วยฐานข้อมูลเสมือน. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์. ปีที่ 14. ฉบับที่ 2(กรกฎาคม - ธันวาคม 2015) ,หน้า 72-84.

ศูนย์ข้อมูลและสถิติ โรงพยาบาลลำปาง. (2559). รายงานการประชุมประจำเดือนกันยายน2559. หน้า 8.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำสถิติสถานพยาบาล พ.ศ.2559. พิมพ์ครั้งที่ 1 . มีนาคม 2559 . สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สิริกร บุญฟู และอาบทิพย์ กาญจนวงศ์. (2556). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่ไจ้.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2561). PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2561 , จาก https://www.ftpi.or.th/2015/2125

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน).(2561). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4.นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).

สุกัญญา เรืองสุวรรณ.(2553). การพัฒนาคุณภาพข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์การ.วารสารสารสนเทศศาสตร์.ปีที่ 23 ฉบับที่ 3(กันยายน-ธันวาคม 2553), หน้า 73-80.

สุจรรยา ทั่งทอง(2556).ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพข้อมูล ด้านสุขภาพ(21แฟ้ม) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .ปีที่1. ฉบับที่ 3 . หน้า 37-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2020