การจัดการเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และการเฝ้าระวังการนำวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การเฝ้าระวังการนำวัฒนธรรม, เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการจัดการเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดเชียงราย และ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการเฝ้าระวังการนำวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีรูปแบบวิจัยแบบเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์และการสังเกต เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 11 คน
ผลการศึกษาพบว่า (1) บทบาทของหน่วยงานที่มีส่วนขับเคลื่อนกิจกรรมการท่องเที่ยว ของภาครัฐ เอกชนและผู้ประกอบการ ต่อการนำเสนอเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดเชียงราย มีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องการสร้างมูลค่าต่อการท่องเที่ยว การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ สินค้า การค้าและการบริการที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งส่งเสริมขับเคลื่อนผู้ประกอบการในด้านการใช้นวัตกรรมต่อการเพิ่มมูลค่าสินค้าและส่งเสริมการเพิ่มช่องทางการขายผ่านระบบสื่อสังคมออนไลน์ การเข้าไปเป็นที่ปรึกษาและให้ความแนะนำด้วยการดึงจุดเด่นและศักยภาพของชุมชน ในรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน ต่อยอดและสร้างมูลค่าการท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิม (2) แนวทางการเฝ้าระวังการนำวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนั้น รูปแบบการดังกล่าว อยู่ภายใต้ฐาน 1.การอนุรักษ์ 2.การฟื้นฟู 3.การสืบสาน และ4.การสร้างสรรค์ โดยมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน (ภาคประชาชน ภาครัฐ และนักวิชาการท้องถิ่น) ภายในพื้นที่ โดยบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหา
References
กรุณา เดชาติวงศ์ ณ อยุทธยา. (2561, มิถุนายน 13). ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักท่องเที่ยวเชียงราย. สัมภาษณ์.
กลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย. (2555). แนวทางการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. เลย: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย
กิตติ ทิศสกุล. (2561, มิถุนายน 13). ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์.
ณรงค์ เจนใจ. (2561, มิถุนายน 16). คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์.
ณัญพล มีแก้ว. (2555). ถนนชายโขงเมืองเชียงคาน: การทำวัฒนธรรมให้เป็นสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสังคมวิทยาการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิบดี ทัฬกรณ์ และประสพชัย พสุนนท์. (2561). “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์”. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม), 46-76.
นครินทร์ น้ำใจดี. (2561, มิถุนายน 20). นักวิชาการด้านวัฒนธรรม, สาขาวิชาการจัดการภูมิปัญญาและทรัพยากรทางวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. สัมภาษณ์.
ปิยวรรณ คงประเสริฐ. (2551) . การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบบูรณาการเพื่อการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิต-วิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรเทพ อินทะชัย. (2561, มิถุนายน 13). ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์.
พิเชฐ สายพันธ์. (2557). “ชาติพันธุ์สภาวะ: จากเสรีนิยมใหม่” ในชาติพันธุ์กับเสรีนิยมใหม่. นฤพนธ์ ดวงวิเศษ: บรรณาธิการ: กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน).
พิมล ปงกองแก้ว. (2561, มิถุนายน 8). พาณิชย์จังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์.
พิริยะ ผลพิรุพห์. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์. ฉบับปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม)., 31-33.
สมบัติ กุสุมาวลี. (2558). เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (creative economy). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุริยา วงศ์ชัย. (2561, มิถุนายน 23). ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ด้านวัฒนธรรม, พิพิธภัณฑ์ลื้อลายคำ.
อมร กิตติกวางทอง. (2561, มิถุนายน 8). วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2555). “พหุวัฒนธรรมในบริบทการเปลี่ยนผ่าน” ในจิตตนาการทางมานุษยวิทยาแล้วย้อนมองสังคมไทย. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง