ผลของการพัฒนาความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์น้อย ด้วยชุดฝึกอบรมแบบสร้างเสริมประสบการณ์ด้วยบริบทชุมชน
คำสำคัญ:
ชุดฝึกอบรมแบบเสริมสร้างประสบการณ์, การพูดภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบสร้างเสริมประสบการณ์การพูดภาษาอังกฤษด้วยบริบทชุมชนสำหรับมัคคุเทศก์น้อย เปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์น้อยก่อนการอบรมและหลังการอบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมแบบสร้างเสริมประสบการณ์การพูดภาษาอังกฤษด้วยบริบทชุมชน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดฝึกอบรมแบบสร้างเสริมประสบการณ์การพูดภาษาอังกฤษด้วยบริบทชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนชุมชนวัดพระธาตุลำปางหลวง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 14 คน ได้มาโดยเทคนิคแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกอบรมแบบสร้างเสริมประสบการณ์ทักษะการพูดภาษาอังกฤษด้วยบริบทชุมชนสำหรับมัคคุเทศก์น้อย แบบทดสอบความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ
ผลการวิจัยพบว่า ชุดฝึกอบรมแบบเสริมสร้างประสบการณ์การพูดภาษาอังกฤษด้วยบริบทชุมชนสำหรับมัคคุเทศก์น้อยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.29/80.24 ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์น้อยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
รติมัย โยธาคำมี และสุชาดา สุขทอง. (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมมัคคุเทศก์น้อย ตามรอยพระศาสดาสู่เวียงฟ้าห้วยต้ม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รุ่งทวี พรรณนา. (2554). การพัฒนาเว็บฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวด้วยเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สาหรับยุวมัคคุเทศก์ โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม จังหวัดตาก.ภาคนิพนธ์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิเชียร อินทรสมพันธ์ และคณะ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์เพื่อการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13(1) มกราคม-เมษายน 2562. 155-166.
ศิรินาถ ศรีอนันต์ และนิธิดา อดิภัทรนันท์. (2560). การใช้การเรียนรู้ภาษาแบบประสบการณ์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการฟังพูดภาษาอังกฤษและความมั่นใจในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. พิฆเนศวร์สาร. 13(1), มกราคม – มิถุนายน, 2560, 85-96.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
หทัยวรรณ จันทร์อยู่ และคณะ (2558). ผลการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกอบรมแบบสร้างเสริมประสบการณ์ การพูดภาษาอังกฤษด้วยบริบทท้องถิ่นสำหรับมัคคุเทศก์น้อย. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
เอื้อมพร ฟูเต็มวงค์ และคณะ. (2561). การพัฒนาศักยภาพในการสื่อสารของกลุ่มเยาวชน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวของบ้านศาลาบัวบก ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
Abdulwahed, M. (2009). Applying Kolb’s Experiential Learning Cycle for Laboratory Education. Journal of Engineering Education. 98(3). 283-294.
Anisa, I. (2016). Enhancing Students’ English Proficiency through Experiential Learning. International Journal of Active Learning, 1(1).
Hamer, L.O. (2000). The Additive Effects of Semi-structured Classroom Activities on Student Learning: An Application of Classroom-based Experiential Learning Techniques. Journal of Marketing Education, 22(1), 25-34.
Kolb, D.A. (1984). Experiential Learning: Experience as the Source of Learning and Development. New Jersey: Prentice-Hall Inc.
Moreno-Lopez, I, et al. (2017). Transforming Ways of Enhancing Foreign Language Acquisition in the Spanish Classroom: Experiential Learning Approaches. Foreign Language Annals. 50(2). 398-409.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง