ปัจจัยทำนายการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง

ผู้แต่ง

  • โอภาส ประมูลสิน Boromarajonani college of nursing,Nakhon Lampang
  • จันทร์ธิลา ศรีกระจ่าง
  • Maricor Aniban Balucanag

คำสำคัญ:

การใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน, นักศึกษาพยาบาล, ปัจจัยทำนาย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและศึกษาปัจจัยทำนายการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ 2 ปัจจัยทำนายการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน และส่วนที่ 3 การใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันผ่านการหาความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.98 และหาความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) และสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน (Pearson correlation)

          ผลการศึกษาพบว่า 1) การใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง ในภาพรวมมีการใช้น้อยครั้ง (  = 2.94, SD = 1.01) โดยใช้ภาษาอังกฤษผ่านการฟังมากที่สุด (  = 3.35, SD = 0.96) รองลงมาคือ การอ่าน (  = 2.83, SD = 0.98) การเขียน (  = 2.82, SD = 1.05) และใช้น้อยที่สุดคือการพูด (  = 2.77, SD = 1.04) 2) ปัจจัยด้านครอบครัวและเพื่อน ด้านเทคโนโลยีและด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สามารถทำนายการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง ได้ร้อยละ 26.4 (R2 = 0.264, p< 0.01) ซึ่งปัจจัยที่ทำนายได้มากที่สุดคือ ด้านครอบครัวและเพื่อน (Beta = 0.259, p< 0.01) รองลงมาคือด้านเทคโนโลยี (Beta = 0.234, p< 0.01) และ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Beta=0.178, p< 0.01) ตามลำดับ

References

ภราดร สุขพันธ์. (2561). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษกับความเป็นบัณฑิตในยุคปัจจุบัน. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 2(2), 89-100.

เยาวเรศ สมทรัพย์ และอัชฌา วารีย์. (2562). แบรนด์พยาบาลไทยในศตวรรษที่ 21: ความท้าทายต่อวิชาชีพพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(3), 169-178.

Almarwaey, A. O. (2017). Using Social-Networking Sites in Learning English Language and Students’ Self-Efficacy. US-China Education Review A, 7(5), 246-254.

Al Mubarak, A. A. (2016). Learning English as a second language through social media: Saudi Arabian tertiary context. International Journal of Linguistics, 8(6), 112-127.

Chomphuchart, N. (2017). Thai University Students' Attitudes toward the Use of the Internet in Learning English. Rangsit Journal of Educational Studies, 4(1),13-30.

Franco, A. And Roach, S.S. (2018) An Assessment of the English Proficiency of the Thai Workforce and Its Implication for the ASEAN Economic Community: An Empirical Inquiry. Open Journal of Business and Management, 6, 658-677.

Ismail, N. S., Atek, E. S. E., Azmi, M. N. L., & Mohamad, M. (2015). The Role of Peer Facilitator in Enhancing English Language Proficiency in a Simulated Environment. English Language Teaching, 8(2), 78-85.

Kampak, K. (2015). Preparing to step into the ASEAN community. The dimension of nursing education; Available from: http://www.rtncn.ac.th

Lagi, K. (2016). Compulsory teaching of English: Impacts on learning in a Fiji classroom. Open Journal of International Education, 1(2), 90-101.

Listiyaningsih, T. (2017). The Influence of Listening English Song to Improve Listening Skill in Listening Class. Academica: Journal of Multidisciplinary Studies, 1(1), 35-49.

Olusiji, L. (2016). Parents, Teachers and Peers Effects on College Students' Motivational Intensity to Learn English. Language in India, 16(4), 61-80.

Sargsyan, M., & Kurghinyan, A. (2016). The use of English language outside the classroom. Journal of Language and Cultural Education, 4(1), 29-47.

Vibulphol, Jutarat. (2016). Students’ Motivation and Learning and Teachers’ Motivational Strategies in English Classrooms in Thailand. English Language Teaching, 9(4), 64-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-08-2020