พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการแสวงการแสวงหาสารสนเทศ, ไวรัสโคโรนา 2019, การบริการสารสนเทศในช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ และ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ซึ่งลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาเกี่ยวข้องกับการค้นหาข้อมูลประกอบการทำรายงานในรายวิชาต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาทางด้านครุศาสตร์ ในเรื่องของ การวิจัยการจัดการเรียนการสอน ความเป็นครู มากที่สุด นักศึกษาประเมินความน่าเชื่อถือของสารสนเทศโดยการพิจารณาจากการอ้างอิงของวารสารวิชาการ นักศึกษาแสวงหาสารสนเทศที่เป็นสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และได้จากแหล่งสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตในระดับมาก เนื้อหาที่ได้เป็นภาษาไทยในระดับมาก เช่นเดียวกัน 2) นักศึกษาส่วนมากมีปัญหาและอุปสรรคของการแสวงหาสารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่า นักศึกษามีปัญหาด้านทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่จำกัดการเข้าถึงมากที่สุด ด้านแหล่งสารสนเทศในช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 ปิดให้บริการ และด้านการอำนวยความสะดวกจากมหาวิทยาลัย ที่ไม่มีการสอนเกี่ยวกับการสืบค้นสารสนเทศ ตามลำดับ
References
กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2563). “อว. ออกประกาศ มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (ฉบับที่ 1 - 5)”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.mhesi.go.th/home/index.php/ pr/news/1142-2019-19-1-5 สืบค้นเมื่อวันที่ 2/5/2563.
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). “สั่งปิดมหาวิทยาลัย-งดสอนในชั้น สอน-ส่งงานออนไลน์ป้องกันโควิด-19”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/871014สืบค้นเมื่อวันที่ 20/4/2563.
ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2537). บริการสารนิเทศ. กรุงเทพฯ: สาขาสารนิเทศ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐม, สมาน ลอยฟ้า และเพ็ญพันธ์ เพชรศร. (2556). พฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 30(3), 158-196.
ประตินัณข์ รัศมีโรจน์ และศักดา จันทร์ประเสริฐ. (2560). การสืบค้นสารสนเทศโดยใช้โปรแกรมค้นหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัย มข., 17(1). 105-113.
ประภาวดี สืบสนธิ์. (2532). พฤติกรรมการใช้สารสนเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาวดี สืบสนธิ์. (2539). ความต้องการใช้สารนิเทศ. ในการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). การสร้างและพัฒนาและทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
แพทยสภา. (2563). “ไวรัสโคโรนา : ที่มา อาการ การรักษา และการป้องกันโรคโควิด-19”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://tmc.or.th/covid19/covid19_for_people.php สืบค้นเมื่อวันที่ 24/4/2563.
พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2563). “การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-in-covid-19-crisis-reopening-school-after-lockdown/ สืบค้นเมื่อวันที่ 24/04/2563.
ภคพร อำมาตย์มณี ชุมอินทรจักร์. (2558). รายงานผลการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการรู้สารสนเทศเพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. หน้า 60-75.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น. (2562). รายงานประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาธรรม.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น. (2563). “ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.kkc.rmuti.ac.th/2017/?p=18826 สืบค้นเมื่อวันที่ 24/4/2563.
ศุภนิจ ศรีรักษ์. (2555). รายงานการวิจัยพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการทำวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อัญญ์นิชตา รุ่งวิชานิวัฒน์ และฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2556). พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1). 85-118.
อุษา สังวาลย์, มาลี ล้ำสกุล และอมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. รังสิตสารสนเทศ, 25(1). 24-42.
Ellis, David., Cox, Deborah and Hall, Katherine. (1993). A Comparison of the Information Seeking Patterns of Researchers in the Physical and Social Sciences. Journal of Documentation, 24(4), 56-369.
IFLA. (2020). COVID-19 and the Global Library Field: Library closures around the world. [online]. Availiable: https://www.ifla.org/covid-19-and-libraries#closures access on June 16, 2020.
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed., New York: Harper and Row
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง