แนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2

ผู้แต่ง

  • วิชิต อ่อนจันทร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล

คำสำคัญ:

แนวทาง, การพัฒนา, การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนในกลุ่มคลองน้ำไหล จำนวน 128 คน และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบริหารการศึกษาในสถานศึกษาจำนวน 17 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (m) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ในกลุ่มคลองน้ำไหลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ดังนี้ 1) ด้านหลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน ร้อยละ 96.87 2) ด้านหลักการบริหารตนเอง ร้อยละ 96.87 3) ด้านหลักการกระจายอำนาจ ร้อยละ 95.31 4) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ร้อยละ 95.31 และ 5) ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ร้อยละ 95.31
  2. ปัญหาการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ดังนี้ 1) ด้านหลักการกระจายอำนาจ ค่าเฉลี่ย 98 2) ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ค่าเฉลี่ย 2.78 3) ด้านหลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน ค่าเฉลี่ย 2.73 4) ด้านหลักการบริหารตนเอง ค่าเฉลี่ย 2.71 และ 5) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ค่าเฉลี่ย 2.68
  3. แนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ผลจากการวิจัยในครั้งนี้ 1) ด้านหลักการกระจายอำนาจ ควรให้มีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง 2) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ควรประชุมชี้แจงการดำเนินงานของโรงเรียน การวางแผนการดำเนินงาน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม 3) ด้านหลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน ผู้บริหารต้องมีหลักธรรมาภิบาล มีภาวะความเป็นผู้นำ บริหารแบบมืออาชีพ 4) ด้านหลักการบริหารตนเอง สถานศึกษาควรมีมาตรฐานการพิจารณาความดีความชอบตามกฎ ก.ค.ศ. 5) ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล สถานศึกษาควรสะท้อนผลการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา 3 มาตรฐาน ได้แก่ คุณภาพของผู้เรียน กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เพชรัตน์ สีหาทัพ. (2561). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2561). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. กำแพงเพชร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2562. กำแพงเพชร: สพป.กำแพงเพชร เขต 2.

อัษฎากร เกตมาลา. (2560). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2542). รายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารและจัดการศึกษา ของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021